ทุเรียนไทย แชมป์ บุกตลาดจีนสำเร็จท่ามกลางโควิด ผลผลิตมีคุณภาพ ยัน ไม่เคยพบเชื้อปนเปื้อน
ทุเรียนไทย แชมป์ บุกตลาดจีนสำเร็จท่ามกลางโควิด ผลผลิตมีคุณภาพ ยัน ไม่เคยพบเชื้อปนเปื้อน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด – 19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และความต้องการซื้อสินค้าเกษตรบางชนิดมีแนวโน้มลดลง แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมาตรการบริหารจัดการเพื่อรับมืออย่างเร่งด่วน และทันต่อสถานการณ์ ในฐานะเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานในระดับสากล จากข้อมูลการส่งออกผลไม้ไทย จะเห็นได้ว่าแต่ละปีไทยมีมูลค่าการส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวนมากกว่า 1 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด โดยแชมเปี้ยนอันดับหนึ่งคือ ทุเรียน รองลงมา คือ ลำไย และ มังคุด โดยจากข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง ประเทศที่นำเข้าผลไม้จากไทยมากที่สุดแน่นอน คือ จีน  รองลงมา คือ ฮ่องกง และ เวียดนาม

ทุเรียนไทย แชมป์ บุกตลาดจีนสำเร็จท่ามกลางโควิด ผลผลิตมีคุณภาพ ยัน ไม่เคยพบเชื้อปนเปื้อน
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

ทุเรียน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559 – 2563) ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี  สำหรับปี 2564 คาดว่าผลผลิตรวมทั้งประเทศ 1.24 ล้านตัน ขณะที่การส่งออกทุเรียนและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจาก 425,059 ตัน มูลค่า 20,050 ล้านบาท ในปี 2559 เป็น 653,158 ตัน มูลค่า 72,459 ล้านบาท ในปี 2563 สำหรับ ปี 2564 (มกราคม – เมษายน) มีปริมาณการส่งออก ปริมาณ 213,328 ตัน มูลค่า 28,615 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนสด ร้อยละ 95 ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ จีน (ร้อยละ 72) รองลงมา คือ ฮ่องกง (ร้อยละ 13) และเวียดนาม (ร้อยละ 12)

ทุเรียนไทย แชมป์ บุกตลาดจีนสำเร็จท่ามกลางโควิด ผลผลิตมีคุณภาพ ยัน ไม่เคยพบเชื้อปนเปื้อน ลำไย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี โดยปี 2564 คาดว่าผลผลิตรวมทั้งประเทศ 1.41 ล้านตันการส่งออกลำไยและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจาก 552,557 ตัน มูลค่า 20,566 ล้านบาท ในปี 2559 เป็น 631,534 ตัน มูลค่า 24,696 ล้านบาท ในปี 2563 (ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.41 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี) สำหรับปี 2564 (มกราคม – เมษายน) มีปริมาณการส่งออก 209,388 ตัน มูลค่า 8,043 ล้านบาท การส่งออกลำไยและผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกลำไยสด กว่าร้อยละ 70 และรองลงมา คือ ลำไยอบแห้ง ร้อยละ 25 ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ จีน (ร้อยละ 77) เวียดนาม (ร้อยละ 11) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 6)

ทุเรียนไทย แชมป์ บุกตลาดจีนสำเร็จท่ามกลางโควิด ผลผลิตมีคุณภาพ ยัน ไม่เคยพบเชื้อปนเปื้อน
ลำไย

มังคุด ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ต่อปี โดยปี 2564 คาดว่าผลผลิตรวมทั้งประเทศ 264,631 ตัน การส่งออกมังคุดและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 143,248 ตัน มูลค่า 4,308 ล้านบาท ในปี 2559 เป็น 292,147 ตัน มูลค่า 15,040 ล้านบาท ในปี 2563 (ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39 ต่อปี) สำหรับ ปี 2564 (มกราคม – เมษายน) มีปริมาณการส่งออก 2,293 ตัน มูลค่า 189 ล้านบาท โดยการส่งออกมังคุดและผลิตภัณฑ์ เป็นการส่งออกมังคุดสดเกือบทั้งหมด ตลาดหลัก ได้แก่ จีน (ร้อยละ 75) เวียดนาม (ร้อยละ 18) และฮ่องกง  (ร้อยละ 4)

ทุเรียนไทย แชมป์ บุกตลาดจีนสำเร็จท่ามกลางโควิด ผลผลิตมีคุณภาพ ยัน ไม่เคยพบเชื้อปนเปื้อน
มังคุด

“สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลไม้ของไทยมากนัก จีน ซึ่งเป็นตลาดหลัก ยังมีความต้องการต่อเนื่อง อีกทั้งเชื่อมั่นได้ว่า รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรฯ และทุกหน่วยงาน เราเข้มงวดมาตรการทุกระดับ ตั้งแต่มาตรการสำหรับเกษตรกรชาวสวน ผู้ประกอบการ สถานประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) และมาตรการสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตร (ผลไม้) ตั้งแต่การพ่นยาฆ่าเชื้อต้นทางจากสวนผลไม้ จนถึงระบบขนส่ง โดยยึดตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก WHO และ FAO ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทางจีนให้การยอมรับและแนะนำให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติด้วยเช่นกัน ซึ่งจีน ยังได้ชื่นชมระบบบริหารจัดการส่งออกผลไม้ของไทยว่ามีประสิทธิภาพ ปลอดภัย โดยที่ผ่านมายังไม่เคยตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสในผลไม้และบรรจุภัณฑ์จากไทยแต่อย่างใด” รัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าว

ทุเรียนไทย แชมป์ บุกตลาดจีนสำเร็จท่ามกลางโควิด ผลผลิตมีคุณภาพ ยัน ไม่เคยพบเชื้อปนเปื้อน
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร

ด้าน นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ปัจจุบันเส้นทางการส่งออกไปยังจีนมีทั้งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบัง ทางบก ได้แก่ เส้นทาง R9 เส้นทาง R3A เส้นทาง R 12 ในขณะนี้ได้อนุญาตให้นำเข้าได้ที่ด่านตงซิงโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2564 เป็นต้นมา จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนเพื่อช่วยแก้ปัญหารถติดสะสมบริเวณหน้าด่านโหย่วอี้กวน การขนส่งทางเรือ จากแหลมฉบังผ่านเวียดนาม ฮ่องกง ไปจีน ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ซึ่งเป็นการขนส่งผลไม้สดโดยการควบคุมอุณหภูมิในตู้สินค้าเย็น (Reefer) และ การขนส่งทางอากาศ  จีนได้มีการเช่าเหมาเครื่องบินมารับทุเรียนไทย 20 ตัน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 จากการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์แบบ Pre-Order จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะสามารถสร้างแบรนด์ผลไม้ไทย และต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ได้มีการจำหน่ายทุเรียนผ่านระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order platform) กับมณฑลส่านซีในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ด้วยแพลตฟอร์มใหม่บนความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ บริษัทเอกชน และสหกรณ์ผลไม้ อาทิ สหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นการสร้างแบรนด์ทุเรียนไทย ในระดับสหกรณ์ผลไม้ (Cooperative Farm based Branding) ตามแนวทางเกษตรสร้างสรรค์ (Creative Agriculture) เกษตรกรชาวสวนทุเรียนและสหกรณ์จะสามารถขายได้ราคาสูงขึ้น โดยส่งออกทุเรียนทางเครื่องบินล็อตที่สองไปจีนจำนวน 25 ตัน (11,200 ลูก)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated