กรมประมง...เพาะพันธุ์ “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล” สำเร็จ! เพิ่มเปอร์เซ็นต์เพศเมีย เลี้ยงง่าย โตไว ให้น้ำหนักดี ตอบโจทย์เกษตรกร สนองความต้องการของตลาด
กรมประมง...เพาะพันธุ์ “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล” สำเร็จ! เพิ่มเปอร์เซ็นต์เพศเมีย เลี้ยงง่าย โตไว ให้น้ำหนักดี ตอบโจทย์เกษตรกร สนองความต้องการของตลาด

กรมประมงโชว์ผลงานเพาะพันธุ์ “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล” ได้สำเร็จ สามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์
ลูกปลาเพศเมีย ตอบโจทย์เกษตรกรที่ต้องการเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่าย แก้ไขปัญหาพันธุ์ปลาไม่ได้ขนาด ให้ตรงความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เพิ่มรายได้ในอาชีพ ตลอดจนสร้างความมั่งคั่งให้กับชุมชน

กรมประมง...เพาะพันธุ์ “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล” สำเร็จ! เพิ่มเปอร์เซ็นต์เพศเมีย เลี้ยงง่าย โตไว ให้น้ำหนักดี ตอบโจทย์เกษตรกร สนองความต้องการของตลาด
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยถึงผลสำเร็จครั้งนี้ว่า “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล”เป็นปลาตะเพียนขาวที่นำปลาตะเพียนขาวเพศผู้ที่มีโครโมโซม XX เมื่อนำไปผสมกับปลาตะเพียนขาวเพศเมียปกติจะสามารถผลิตได้ลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมียทั้งหมด ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวที่มีขนาดแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ปลาตะเพียนขาวเพศเมียมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าและมีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศผู้ สอดรับกับนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มอบนโยบายให้กรมประมงให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาการเพาะหรือปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประชาชนประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

กรมประมง...เพาะพันธุ์ “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล” สำเร็จ! เพิ่มเปอร์เซ็นต์เพศเมีย เลี้ยงง่าย โตไว ให้น้ำหนักดี ตอบโจทย์เกษตรกร สนองความต้องการของตลาดด้านนางวิระวรรณ ระยัน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง เสริมในรายละเอียดว่า “ปลาตะเพียนขาว” เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ลูกดก สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้เกือบตลอดปี ประชาชนนิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาส้มที่มีรสชาติดีที่สุด โดยในปี 2550 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ปลาตะเพียนขาวสายพันธุ์แม่น้ำโขง (Silver 2K)
จนประสบความสำเร็จและมีการกระจายพันธุ์อย่างแพร่หลายในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางศูนย์ฯ
จึงนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผลิต ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล ที่ให้ผลผลิตเป็นลูกปลาเพศเมียทั้งหมด
ซึ่งขั้นตอนของการผลิตพันธุ์ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล เริ่มต้นจากการนำพ่อแม่พันธุ์ปลาตะเพียนขาวสายพันธุ์แม่น้ำโขง (Silver 2K) มาทำลายสารพันธุกรรมในน้ำเชื้อแล้วเหนี่ยวนำด้วยขบวนการไจโนจีนีซีสให้มีโครโมโซมเป็น 2 ชุด (2n) ได้ผลผลิตเป็นปลาตะเพียนขาวไจโนจีนีซีสเพศเมีย (XX-Female) หลังจากนั้น ทำการแปลงเพศโดยการให้กินอาหารผสมฮอร์โมนจะได้ปลาตะเพียนขาวนีโอเมลเพศผู้ (Neomale, XX-male) สำหรับใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวนีโอเมลครั้งนี้

กรมประมง...เพาะพันธุ์ “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล” สำเร็จ! เพิ่มเปอร์เซ็นต์เพศเมีย เลี้ยงง่าย โตไว ให้น้ำหนักดี ตอบโจทย์เกษตรกร สนองความต้องการของตลาดโดยเมื่อปี พ.ศ. 2562 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ ได้แจกจ่ายปลาตะเพียนขาวพ่อพันธุ์
นีโอเมล (พันธุ์ขยาย) จำนวน 1,030 ตัว ให้แก่เกษตรกร 8 รายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีเกษตรกรผลิตลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมีย จำนวน 5 ราย สามารถผลิตลูกปลาตะเพียนขาวได้ปีละไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านตัว จากการติดตามผลการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวนีโอเมล พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
มีลักษณะการเลี้ยงเชิงเดี่ยวเป็นอาชีพเสริม ทั้งในบ่อดินและในนาข้าว อัตราความหนาแน่นเฉลี่ย 1,960 ตัวต่อไร่ อาหารที่ใช้เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูปร่วมกับอาหารธรรมชาติ ระยะเวลาเลี้ยง ราว 5 – 7 เดือน ผลผลิตที่ได้มีขนาด 200 – 250 กรัมต่อตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปลาตะเพียนขาวพบว่า ปลาตะเพียนขาวนีโอเมลใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้นกว่าประมาณ 1 เดือน ให้ผลผลิตที่สูงกว่า 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตปลาที่ได้มีขนาดสม่ำเสมอ จากการประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในประเด็นคุณภาพของปลา อัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์เพศ ราคาพันธุ์ปลา ระยะเวลาการเลี้ยง และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

กรมประมง...เพาะพันธุ์ “ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล” สำเร็จ! เพิ่มเปอร์เซ็นต์เพศเมีย เลี้ยงง่าย โตไว ให้น้ำหนักดี ตอบโจทย์เกษตรกร สนองความต้องการของตลาดรองอธิบดีกล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ สามารถผลิตปลาตะเพียนขาวพ่อพันธุ์นีโอเมล (พันธุ์หลัก) ปลาตะเพียนขาวพ่อพันธุ์นีโอเมล (พันธุ์ขยาย) และลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมีย เพื่อสนับสนุนให้แก่เกษตรกรนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อไป นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของกรมประมง
ในการพัฒนา ปรับปรุง และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เกษตรกร ตลอดจนผู้บริโภค ทั้งนี้ หากเกษตรกรท่านใดมีความสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ หรือกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์หมายเลข 0 4463 4861 ได้ในวันและเวลาราชการ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated