สทนช. เผยผลการศึกษา SEA ประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ บริหารจัดการน้ำ 11 จังหวัดลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกเพิ่ มปริมาณน้ำอุปโภคบริโภค เสริมความแกร่งเศรษฐกิจฐานรากหนุนฟื้นฟูการท่องเที่ยว ตามนโยบายรัฐบาล พร้อมรับการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนนี้

S__20660232

วันนี้ (24 กรกฎาคม 2564) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เปิดเผยถึงผลการศึกษาโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ Strategic Environmental Assessment : SEA พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ว่า สทนช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาโครงการฯ มาตั้งแต่กลางปี 2563 และจะดำเนินการแล้วเสร็จปลายเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาของลุ่มน้ำที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือมีผลกระทบในระดับที่ยอมรับได้ และเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ.2561-2580

S__20660228

โดยมีแนวทางการศึกษา ประกอบด้วย การจัดทำแผนหลักและแผนปฏิบัติการ ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การจัดการน้ำอุปโภค-บริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต การจัดการน้ำท่วม และบรรเทาอุทกภัย การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และการบริหารจัดการ

“โดยผลการศึกษาในประเด็นสำคัญที่แล้วเสร็จ อาทิ แผนงาน/โครงการที่เสนอจากภาครัฐและภาคประชาชน รวม 2,894 โครงการ ทำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคและเสริมสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต ในพื้นที่เพิ่มขึ้น 1,218.33 ลบ.ม. และสามารถลดพื้นที่อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกได้อีก 47,631 ไร่”

ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดของจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัด สุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ จากผลการศึกษาในกระบวนการ SEA ซึ่งใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Based) สามารถสร้างความมั่นคงของทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับนโยบายด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนงานเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า การศึกษาพื้นที่ต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับพื้นที่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งมีต้นแบบความสำเร็จ คือ ที่จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะพื้นที่บ้านวังลำ ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ถือเป็นแหล่งต้นน้ำและชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม ด้วยในอดีตพื้นที่บ้านวังลำ มักประสบปัญหาน้ำมีไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูก ทำให้คนในชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐได้หาแนวทางร่วมกันบริหารจัดการน้ำผ่านกลไกของการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญในพื้นที่คือ อ่างเก็บน้ำบ้านน้ำราบและโครงการอ่างเก็บน้ำสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

149454

ในส่วนของจังหวัดกระบี่ พื้นที่บ้านไร่ตะวันหวาน ตำบลดินแดง อำเภอลำทับ นับเป็นอีกหนึ่งชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการน้ำร่วมกันกับท้องถิ่นและภาคเอกชน บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ โดยได้ก่อตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านไร่ตะวันหวาน  และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดต้นแบบ ในขณะที่ ปัญหาด้านน้ำอุปโภคบริโภคในกิจกรรมต่างๆในจังหวัดที่ผ่านมา ยังคงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และมีค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการที่สูงมาก

เลขาธิการ สทนช. กล่าวอีกว่า แต่เมื่อจังหวัดภูเก็ตต้องเป็นต้นแบบในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยวแล้ว การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ในการรองรับกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาและอุปสรรคกับการดำเนินนโยบายดังกล่าว ตัวอย่างเช่น หนึ่ง การก่อสร้างสระน้ำแก้มลิงบ้านโคกโตหนดพร้อมระบบผันน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงแล้งสำหรับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง สอง โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปาจากจังหวัดพังงาไปยังจังหวัดภูเก็ต สาม การก่อสร้างระบบผลิตน้ำรีไซเคิล ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และ สี่ การจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่เกาะต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีนำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด

S__20660233

“การศึกษา SEA เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการจัดทำแผนหลักด้านน้ำ ที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ริเริ่มจัดทำเป็นมาตรฐานให้กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ทั้งนี้  การดำเนินการศึกษาของ สทนช. ได้เสริมการวิเคราะห์ความต้องการของพื้นที่ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อกำหนดเป้าหมาย วิธีการ และลำดับความสำคัญผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ผลที่ได้รับคือ แผนหลักการบริหารลุ่มน้ำซึ่งจะต้องเสนอเข้าสู่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อการปรับปรุงเป็นแผนแม่บทน้ำของประเทศในปี 2565 ต่อไป” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย

S__20660235

S__20660230

S__20660234

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated