กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพฟ้าฝนที่ไม่แน่นอน
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพฟ้าฝนที่ไม่แน่นอน

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะสถานการณ์ฟ้าฝนไม่แน่นอน เกษตรกรควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ปรับตัวรับมือสถานการณ์ ใช้น้ำอย่างประหยัด ลดสูญเสีย ให้น้ำตามความต้องการของพืช และการจัดการความชื้นที่เหมาะสมในแปลงเพาะปลูกพืช

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพฟ้าฝนที่ไม่แน่นอน
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้เล็งเห็นปัญหาสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ทั้งปัญหาฝนตกไม่แน่นอน ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก รวมถึงยังพบว่าวิธีการใช้น้ำของเกษตรกรยังขาดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำไปในบางส่วน รวมทั้งมีการออกแบบติดตั้งและใช้งานระบบน้ำอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ กล่าวคือ มีการติดตั้งและใช้อุปกรณ์ไม่ถูกต้อง หัวจ่ายน้ำอุดตัน แรงดันน้ำไม่เหมาะสม ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ควรจะเป็น และขาดความเข้าใจในการใช้และดูแลรักษา

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้น้ำได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของพืช อย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพฟ้าฝนที่ไม่แน่นอน กรมส่งเสริมการเกษตรมีข้อแนะนำดังนี้

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพฟ้าฝนที่ไม่แน่นอน
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพฟ้าฝนที่ไม่แน่นอน
  1. ใช้น้ำอย่างประหยัด โดยหลีกเลี่ยงวิธีการให้น้ำแบบท่วมขังหรือเกินความต้องการของพืช จะช่วยลดการสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ได้
  2. รักษาความชื้นให้กับพืชและลดการคายน้ำของพืชด้วยวิธีเขตกรรม เช่น การใช้วัสดุคลุมดินที่โคนต้นพืช หรือแปลงเพาะปลูก การปรับปรุงบำรุงดินให้มีโครงสร้างดินที่เหมาะสมกับการอุ้มน้ำและความชื้น ด้วยพรวนดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช การระวังป้องกันสภาพแวดล้อมของแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียความชื้นได้ง่าย เช่น การลดความเข้มของแสงแดดด้วยการพรางแสง หรือการปลูกไม้บังลม รวมทั้งการตัดแต่งกิ่ง เพื่อลดการคายน้ำของพืช
  3. ควบคุมความชื้นในแปลงเพาะปลูกพืชช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกหรือช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในบริเวณต้นพืช จะช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา หรือรากพืชขาดอากาศเน่าตาย และต้นพืชหรือผลผลิตเสียหาย โดยในกรณีสภาพพื้นที่เป็นดินเหนียวจัด ให้ปรับปรุงโครงสร้างดินให้ระบายน้ำได้ดีขึ้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับไม้ผลควรให้ดินโคนต้น (หลุมปลูก) ยกสูงขึ้นเป็นเนินเต่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ดินเหนียวเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนในแปลงพืชไร่-พืชผัก ควรให้หน้าดินบนแปลงมีลักษณะราบเรียบไม่เป็นแอ่งเพื่อไม่ให้น้ำขังได้ง่าย มีการใช้วัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้นพืช แต่ต้องให้มีแสงแดดส่องถึงโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีความชื้นสูงเกินไป และตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เพื่อลดการเกิดเชื้อราและศัตรูพืช รวมทั้งเกษตรกรควรหมั่นกำจัดวัชพืช และดูแลรักษาสวนหรือแปลงเพาะปลูกพืชไม่ให้รก เพื่อให้พื้นที่เพาะปลูกมีอากาศถ่ายเทสะดวกด้วย
  4. ให้น้ำพืชด้วยระบบน้ำที่เหมาะสมกับชนิดพืช ซึ่งควรมีการออกแบบติดตั้งรวมทั้งการใช้และดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อให้น้ำได้ตามความต้องการของพืชและมีประสิทธิภาพ

    กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพฟ้าฝนที่ไม่แน่นอน
    พรางแสง

เกษตรกรที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามที่ได้สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated