สศท.2 ชู “สมุนไพร” สินค้า Future Crop สร้างรายได้ โอกาสโตช่วงโควิด-19 แนะเกษตรกร ผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญคุณภาพและมาตรฐานสินค้า

สสก.1 จ.ชัยนาท เดินหน้าชูธงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น โชว์ของดี ตาลโตนดห้วยกรด ตั้งแต่ปลูกถึงการใช้ประโยชน์ พร้อมเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั่งรถชมต้นตาล กินอาหารคาวหวานจากผลตาล และน้ำตาลสดสุดอร่อย

S__22700044

นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (สสก.1) เปิดเผยว่า เพื่อสนองนโยบายการพัฒนาภาคเกษตรตามแผนยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล ในประเด็นการเกษตร แผนย่อยเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ดังนั้นภายใต้นโยบายการส่งเสริมการเกษตรเชิงรุก Chai Nat (Zone 1) Agro Model ตามยุทธศาสตร์เชิงรุกแบบมีเป้าหมายของ สสก. 1 จ.ชัยนาท ที่ดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 9 จังหวัดของภาคกลาง จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาผลิต สินค้า รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นสินค้าเกษตรชนิดใหม่ที่รองรับความต้องการของตลาดยุคใหม่ รวมถึงเป็นส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ พัฒนาคุณภาพให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน ตลอดจนส่งเสริมการขึ้นทะเบียนรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ตลอดจน ส่งเสริมแบรนด์และสร้างเรื่องราวของสินค้าให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ

นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (ซ้ายมือ) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน
นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (ซ้ายมือ) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน

“ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับตาลโตนดของตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ถือเป็นอีกหนึ่งเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีความโดดเด่น และควรค่าแก่การอนุรักษ์ ด้วยเป็นแหล่งปลูกต้นตาลใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาท และชาวบ้านตำบลห้วยกรดทั้ง 17 หมู่บ้าน ได้ใช้ประโยชน์จากต้นตาลโตนดในการเลี้ยงชีวิต สืบเนื่องกันต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 100 ปี ที่สำคัญยังได้รับการยอมรับในด้านรสชาติที่มีความหอมหวานของน้ำตาลโตนด ดั่งปรากฏในคำขวัญของตำบลแห่งนี้ว่า “ภาษาถิ่นสืบสาน ตาลโตนดลือเลื่อง พระเครื่องอาคมขลัง ตลาดกลางข้าวและพืชไร่ มรดกไทยรำมะนา ตลาดค้าสุกร”

ผู้อำนวยการ สสก.1 จ.ชัยนาท กล่าวต่อไปว่า การใช้ประโยชน์จากต้นตาลตั้งแต่รากจนถึงยอด ถือเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์สืบทอดกันมา เช่น การนำต้นตาลมาสร้างที่อยู่อาศัย การใช้ผลผลิตเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น ต้มปลาร้าหัวตาล แกงหัวตาล ยำหัวตาลปลาย่าง และขนมหวาน เช่น ลอนตาลเชื่อม ลอนตาลลอยแก้ว เป็นต้น และที่โดดเด่นมาก คือ การทำน้ำตาลโตนดที่ยังคงอนุรักษ์และสืบทอดเทคนิคการผลิตแบบโบราณ ทำให้ได้น้ำตาลโตนดที่มีหวานจับใจ

S__22700041

S__22700040

“ดังนั้น สสก.1 จ.ชัยนาท ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท และสำนักงานเกษตรอำเภอสรรคบุรี ดำเนินการส่งเสริม และสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนา ทั้งด้านของการเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจ และด้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร และได้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมี นายวิชาญ  จุ้ยแจ้ง ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลห้วยกรด ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการปลูกต้นตาลมาอย่างยาวนาน เป็นประธานศูนย์ ฯ และเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ”

S__22700039

“นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์พัฒนาการทำน้ำตาลโตนด รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเยาวชนรุ่นใหม่ และการพัฒนายกระดับกลุ่มอาชีพให้มีมาตรฐานและต่อยอดขยายผลอาชีพ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “พอกิน พออยู่ พอประมาณ ด้วยภูมิปัญญาของชุมชน” พร้อมทั้งจัดกิจกรรมปลูกต้นตาลโตนดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้กล่าวได้ว่า วันนี้ตำบลห้วยกรด มีความพร้อมเปิดรับผู้สนใจให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยว เช่น การขับรถชมเที่ยวดงต้นตาล พร้อมแวะทานน้ำตาลโตนดห้วยกรด และอื่นๆ ที่จะสร้างความประทับใจให้กับทุกคนอย่างแน่นอน สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ตาลโตนดตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 08-1703-1916” นายวีระชัย กล่าวในที่สุด

S__22700043

S__22700045

S__22700042

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated