คุณสุเทพ กังเกียรติกุล โชว์ส้มก้านยาวนนทบุรี ที่ปลูกแซมอินทผลัม...
คุณสุเทพ กังเกียรติกุล โชว์ส้มก้านยาวนนทบุรี ที่ปลูกแซมอินทผลัม...

เรื่องโดย : ลุงพร เกษตรก้าวไกล

ในยุคโควิด 19 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวโดดเด่น บทบาทของเกษตรกรทั่วโลกถูกพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม นี่คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) และการพัฒนาเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการกลายเป็นหนึ่งในโมเดลการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ซึ่งผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย BCG Economy ที่ภาครัฐกำลังเดินหน้าเต็มสูบ..

ส้มโกลเด้นดรากอน หรือ ฉายาใหม่ "ส้มก้านยาวนนทบุรี" กลยุทธ์การตลาดที่น่าจับตามองของเกษตรกรไทย
ส้มโกลเด้นดรากอน หรือ ฉายาใหม่ “ส้มก้านยาวนนทบุรี” กลยุทธ์การตลาดที่น่าจับตามองของเกษตรกรไทย

ในช่วงที่เกิดโควิด รอบ 3 นี่เอง “เกษตรก้าวไกล” ได้ดำเนินโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ซึ่งได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ด้วยความประสงค์ที่จะออกเดินทางปลุกเร้าเกษตรกรไทยให้ลุกขึ้นสู้ไปด้วยกัน ทั้งการลงพื้นที่จริงและการสัมภาษณ์LIVEสดผ่านระบบออนไลน์ โดยเราหวังว่าจะลงพื้นที่จริงให้มากที่สุด แต่แล้วภาครัฐก็ประกาศล็อกดาว์นทำให้เราต้องหันทิศทางมาหาเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันวิกฤตโควิดเป็นโอกาสของเศรษฐกิจสีเขียว เกษตรกรทั่วโลกจะถูกพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ

ในที่สุดเราก็ได้พบกับ “สุเทพ กังเกียรติกุล” เกษตรกรเจ้าของสวนปามี 98 ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทุรี ถือได้ว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ครบเครื่อง “ออกอาวุธได้ทุกดอก” ตรงตามแนวทางการพัฒนาดังกล่าวข้างต้น และพานให้คิดไปว่า ถ้าเราสามารถสร้างเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการให้มากๆกว่าที่เป็นอยู่ พลิกเปลี่ยนเกษตรที่เคยตั้งรับให้ออกมาเชิงรุกทำเกษตรให้เหมือนทำธุรกิจ เหมือนที่คุณสุเทพทำได้สำเร็จนั่นแหละจะเป็นโอกาสของเกษตรกรอย่างแท้จริง

เกษตรกรประเทศไทยเรามีมาก 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ถ้าเราทำให้กลุ่มคนนี้อยู่รอดมีรายได้ต่อเนื่องก็จะเกิดความยั่งยืนในอาชีพ “ถ้าเราทำให้เกษตรเจริญ เศรษฐกิจของประเทศก็จะเจริญได้” หัวใจของการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเทศไทยจึงอยู่ตรงนี้

ระหว่างที่ได้เจอกับคุณสุเทพก็ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายเรื่องราว ซึ่งได้เห็นว่าการทำเกษตรของคุณสุเทพก็คือการทำธุรกิจการเกษตร

“เกษตรกรไม่ได้แปลว่ายากจน เกษตรกรมีแต่รวยไม่เลิกกับโคตรรวย อย่างเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จะรวยยิ่งกว่าผม เพราะความรู้ต่างๆและปัจจัยเกื้อหนุนมีมากกว่าเกษตรกรรุ่นก่อนๆ” คุณสุเทพ กล่าวระหว่างที่เกษตรก้าวไกล LIVE สด ขณะกำลังปลูกส้มสลับทุเรียน…

คุณสุเทพ กังเกียรติกุล (เสื้อสีทอง) กำลังให้ข้อมูลเรื่องการปลูกส้มแซมทุเรียน
คุณสุเทพ กังเกียรติกุล (เสื้อสีทอง) กำลังให้ข้อมูลเรื่องการปลูกส้มแซมทุเรียน

ในการ LIVEสดอีกครั้งหนึ่งคุณสุเทพได้จัดแข่งขันปลูกส้มที่ปลูกแซมในสวนอินทผลัม เขาชี้ให้เห็นถึงการใช้พื้นที่ให้มากประโยชน์เช่นเดียวกับการปลูกฝรั่งหงเป่าสือแซมทุเรียน “เราต้องเข้าใจว่าพืชชนิดไหนปลูกร่วมกันได้ ควรทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและจะได้มีรายได้หมุนเวียนทั้งปี”วิกฤตโควิดเป็นโอกาสของเศรษฐกิจสีเขียว เกษตรกรทั่วโลกจะถูกพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ

สำหรับการแข่งขันเก็บ “ส้มโกลเด้นดราก้อน” หรือ “ส้มมังกรทอง” หรือภาษาทางการตลาดเรียกว่า “ส้มก้านยาว” เพราะนนทบุรีมีทุเรียนก้านยาวที่มีชื่อเสียง การอิงให้เป็น “ส้มก้านยาวนนทบุรี” ก็คือกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่งที่จะสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค…ซึ่งไม่ใช่การสร้างความสามัคคีระหว่างหมู่พนักงานเพียงอย่างเดียวและกลยุทธ์นี้ยังสื่อให้รู้ว่าเกษตรกรสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารที่มีอยู่ในมือให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างถูกจังหวะ…วิกฤตโควิดเป็นโอกาสของเศรษฐกิจสีเขียว เกษตรกรทั่วโลกจะถูกพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ

การทำธุรกิจเกษตรของคุณสุเทพเหมือนทำธุรกิจของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย เพราะระหว่างทางที่จะไปสวนปามี 98 เราได้เห็นหมู่บ้านจัดสรรชื่อดังหลายโครงการที่เจ้าของเป็นนักธุรกิจหรือบริษัทเดียวกัน จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นสวนปามี 98 ของคุณสุเทพตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบางใหญ่อีกหลายสวน เพียงแต่ชื่อไม่ซ้ำกัน แต่พืชที่ปลูกซ้ำกัน ซึ่งในการเลือกพืชที่จะปลูกก็สำคัญมาก

“เราต้องเลือกปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง อย่างอินทผลัมกิโลกรัมละ 100 บาทขึ้น ทุเรียนก็ 100 บาทขึ้น ส้มก็ 100 บาทขึ้น ฝรั่งเนื้อสีแดง(หงเป่าสือ)ก็ 100 บาทขึ้น…พืชเหล่านี้เราต้องทำให้มีรายได้หมุนเวียน ไม่เน้นขายผลผลิตเพียงอย่างเดียว ต้องแปรรูปเพิ่มมูลค่า สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ตัวไหนทำพันธุ์ขายได้เราก็ต้องทำพันธุ์ขายด้วย” คุณสุเทพ ให้ข้อคิดตรงไปตรงมาวิกฤตโควิดเป็นโอกาสของเศรษฐกิจสีเขียว เกษตรกรทั่วโลกจะถูกพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ

คุณสุเทพ บอกอีกว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่าเกษตรคือทางรอด เกษตรคือความร่ำรวย ตัวเขาจึงตั้งใจที่จะสร้างสวนปามี 98 ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงเกษตรขึ้นมา “ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนหัวใจเกษตร อย่างสถานการณ์ที่เกิดโควิดในคราวนี้เราเห็นชัดว่าเกษตรคือทางรอดประเทศไทย เป็นหนทางเดียวที่จะสร้างความร่ำรวยอยู่ดีกินดีให้กับคนไทย เราจะเห็นช่องว่างและโอกาสอีกมากที่จะพัฒนาอาชีพการเกษตรขึ้นมา ผมจึงตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้สนใจได้มาฝึกปฏิบัติของจริง เรียนรู้จริงทำจริง..จากผู้มีประสบการณ์จริง”

นี่คือแง่มุมหนึ่งของเกษตรกรไทยที่ชื่อ “สุเทพ กังเกียรติกุล” เป็นคนเดียวกับที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนักบริหารภาคเอกชนดีเด่น ประจำปี 2561 ต้องบอกว่าพลังในตัวของเขาล้นเหลือจริงๆ…ถึงยุคที่เกษตรกรไทยจะทำเกษตรแบบธุรกิจแล้วครับ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated