สศท.6 เผย ต้นหนวดปลาหมึก ไม้ประดับฟอกอากาศ จ.นครนายก สินค้าทางเลือกมีอนาคต สร้างรายได้งาม
สศท.6 เผย ต้นหนวดปลาหมึก ไม้ประดับฟอกอากาศ จ.นครนายก สินค้าทางเลือกมีอนาคต สร้างรายได้งาม

นายชัฐพล สายะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันไม้ดอกไม้ประดับมีความสำคัญในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง ยารักษาโรค รวมถึงธุรกิจด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ไม้ดอก ไม้ประดับบางชนิดยังสามารถดูดซับสารพิษในอากาศได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม้ดอกไม้ประดับที่มีระดับการดูดสารพิษมากและมีการปลูกมากในประเทศไทย ได้แก่ ต้นหนวดปลาหมึก ยางอินเดีย บอสตันเฟิร์น พลูด่าง หมากเหลือง กล้วยไม้พันธุ์หวาย เป็นต้น นับว่าเป็นสินค้าทางเลือกที่มีอนาคต ตลาดมีความต้องการสูง และเป็นสินค้าทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

สศท.6 เผย ต้นหนวดปลาหมึก ไม้ประดับฟอกอากาศ จ.นครนายก สินค้าทางเลือกมีอนาคต สร้างรายได้งาม ปัจจุบันมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งจังหวัดนครนายกเป็นแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญอันดับ 9 ของประเทศประกอบกับจังหวัดนครนายกมีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวรวมถึงอยู่ติดกับกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าและประชาชนมีกำลังซื้อสูง โดยมีพื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2564) จำนวน 766 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูก 377 ราย เกษตรกรมีการปลูกทั้งแบบรายเดี่ยวและ การรวมกลุ่มผลิตในรูปของกลุ่มเกษตรกร

สศท.6 เผย ต้นหนวดปลาหมึก ไม้ประดับฟอกอากาศ จ.นครนายก สินค้าทางเลือกมีอนาคต สร้างรายได้งาม

สศท.6 ได้ดำเนินการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนไม้ประดับดูดสารพิษ จังหวัดนครนายก กรณีศึกษาต้นหนวดปลาหมึก ซึ่งเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณสมบัติในการดูดสารพิษในระดับมากและเกษตรกรในจังหวัดนครนายกมีการผลิตมาก โดยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย ผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 124,450 บาท/ไร่/รอบการผลิต (แบ่งเป็นต้นทุนการเพาะปลูก 73,990 บาท และต้นทุนการจำหน่าย 50,460 บาท) ในระยะเวลา 1 ปี สามารถปลูกได้ 2 รอบการผลิต เกษตรกรนิยมปลูกในถุงดำขนาด 5 นิ้ว ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 10,000 ต้น โดยเกษตรกรใช้กิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ของตนเองนำมาปักชำ ใช้ระยะเวลาการปลูก 2 – 6 เดือน เกษตรกร จะเริ่มจำหน่ายเมื่อมีอายุต้น 2 เดือน และบางส่วน จะนำมาเปลี่ยนขนาดถุงเป็น 8 นิ้ว และดูแลต่อเนื่องจนมีอายุ 6 เดือน จึงจะจำหน่าย ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ เดือนสิงหาคม 2564 ขนาดถุงดำ 5 นิ้ว อยู่ที่ 9 บาท/ต้น และขนาดถุงดำ 8 นิ้ว อยู่ที่ 32 บาท/ต้น เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 196,122 บาท/ไร่/รอบการผลิต ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 71,672 บาท/ไร่/รอบการผลิต ทั้งนี้ การจำหน่ายไม้ดอก ไม้ประดับขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เกษตรกรจึงมีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดและปริมาณการผลิตไม้ดอก ไม้ประดับแต่ละชนิดในจำนวนไม่มาก

สศท.6 เผย ต้นหนวดปลาหมึก ไม้ประดับฟอกอากาศ จ.นครนายก สินค้าทางเลือกมีอนาคต สร้างรายได้งาม ด้านสถานการณ์ตลาด พบว่า ผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 จำหน่ายให้กับผู้ซื้อรายย่อยที่นำไปจัดสวนของตนเอง รองลงมา ร้อยละ 30 จำหน่ายให้กับนักจัดสวนและบริษัทรับจัดสวน และร้อยละ 20 จำหน่ายให้พ่อค้าจังหวัดใกล้เคียงและต่างจังหวัด ซึ่งมารับซื้อเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย นอกจากนี้เกษตรกรบางรายมีการจำหน่ายทางออนไลน์ผ่าน Facebook ของของตนเอง และจัดส่งผ่านบริษัทขนส่งเอกชนในพื้นที่

สศท.6 เผย ต้นหนวดปลาหมึก ไม้ประดับฟอกอากาศ จ.นครนายก สินค้าทางเลือกมีอนาคต สร้างรายได้งาม

ผู้อำนวยการ สศท.6 กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดนครนายกได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ โดยมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต (พันธุ์พืช การผลิต การดูแลรักษา) ลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร การบริหารจัดการผลผลิต รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีการตลาดและระบบขนส่ง เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ค้าและผู้ผลิต ทั้งนี้ เกษตรกรควรระมัดระวังในเรื่องวัสดุปลูก คือ ขี้เถ้าแกลบ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการผลิต โดยขี้เถ้าแกลบที่ไม่ได้คุณภาพหรือมีการปนเปื้อนทำให้ต้นกล้าไม้ตายหรือเจริญเติบโตไม่ดี อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนการผลิต หรือเพิ่มชนิดสินค้าในการผลิตสำหรับเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกร หากท่านใดสนใจผลการศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สศท.6 โทร 0 3835 1261 หรืออีเมล zone6@oae.go.th

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated