นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เปิดแถลงข่าวชี้แจงเหตุปุ๋ยเคมีราคาแพง และพร้อมร่วมมือกับภาครัฐเพื่อขายปุ๋ยในราคาพิเศษ..
นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เปิดแถลงข่าวชี้แจงเหตุปุ๋ยเคมีราคาแพง และพร้อมร่วมมือกับภาครัฐเพื่อขายปุ๋ยในราคาพิเศษ..

หลังที่มีข่าวตามสื่อออนไลน์ว่าเกษตรกรโอดครวญปุ๋ยเคมีราคาพุ่งสูง เป็นการกระหน่ำซ้ำเติมหลังจากเกษตรกรบาดเจ็บจากสถานการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภัยพิบัติน้ำท่วม ทำให้สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ที่ประกอบไปด้วยสามชิกผู้ค้าปุ๋ยรายสำคัญ นั่งไม่ติดต้องออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าว เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ Victor Club Samyan Mitrtown ห้อง 944, ชั้น 7 ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง

การแถลงข่าวครั้งนี้ นำโดย นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย นายวชิรศักดิ์ อรรจนานนท์ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายศุภชัย ปานดำ กรรมการฝ่ายวิชาการ นายรัสชัย เหรียญพาณิชย์ กรรมการบริหารสมาคม นายทวีสุข เมฆธวัชชัยกุล รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายสุภัค เหล่าดี เลขานุการฝ่ายวิชาการ โดยมี นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม เป็นตัวแทนเกษตรมาร่วมแถลงด้วยผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

ภาพรวมสถานการณ์ราคาและตลาดปุ๋ยเคมี 2564

ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2563 ต่อเนื่องมายังปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทย รวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลกประสบกับการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส หรือ COVID-19 ในส่วนของภาคการผลิตสินค้าเกษตร ประเทศไทยต้องนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์บางชนิด สารอารักขาพืช และ “ปุ๋ยเคมี” ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนในช่วงแรกๆ คือการนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศ รวมทั้งธุรกิจด้านโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการปิดเมืองสำคัญ รวมถึงการปิดประเทศผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

ในภาพรวมของธุรกิจภาคการเกษตรได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการผลิตทางการเกษตร คือ “ปุ๋ยเคมี” ประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ ประมาณ 90-95 % มาเพื่อผลิตและจำหน่ายปุ๋ยให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ในช่วงปลาย ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมี มีระดับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากหลายๆ ปัจจัย จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ซึ่งส่งผลต่อการผลิตพืชอาหาร ดังนั้น ปุ๋ยเคมี จึงเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีความต้องการมากขึ้น โดยปัจจัยที่ทำให้ปุ๋ยเคมี มีระดับราคาที่สูงขึ้นประกอบด้วย

  1. สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร
  2. ราคาผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น
  3. การกำหนดนโยบายความมั่นคงทางด้านอาหารของแต่ละประเทศ
  4. นโยบายการชะลอการส่งออกปุ๋ยเคมีของประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2564
  5. วิกฤตราคาพลังงานน้ำมัน ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน
  6. วิกฤตการขนส่ง (Logistic) ระหว่างประเทศส่งผลให้ค่าขนส่งสินค้าทางเรืออยู่ในระดับราคาสูง
  7. ความผันผวนของค่าเงินในตลาดโลกผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

จากปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลต่อความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น ประเทศจีน ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย เป็นต้น การนำเข้าวัตถุดิบปุ๋ยเคมี แบ่งออกเป็นสามชนิด ประกอบด้วย ปุ๋ยไนโตรเจน (Nitrogen) การผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจะมีสารตั้งต้นคือสารแอมโมเนียซึ่งมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนซึ่งส่วนใหญ่ได้จากก๊าซธรรมชาติในกระบวนการปิโตรเคมี หรือกระบวนการผลิตถ่านหิน สารแอมโมเนียนั้นใช้ในการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนต่าง ๆ ได้แก่ ยูเรีย (46-0-0) และแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ซึ่งราคาน้ำมัน ถ่านหินจะส่งผลกระทบต่อการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน

ผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

วัตถุดิบตัวถัดไป ปุ๋ยฟอสฟอรัส (Phosphorus) ซึ่งทำมาจากหินชนิดหนึ่งเรียกว่า หินฟอสเฟต วิธีการผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัสที่นิยมกัน ก็คือนำหินฟอสเฟตมาบดละเอียดและมาทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันก็จะได้กรดฟอสฟอริก กรดฟอสฟอริกนี้ถือเป็นตัวต้นน้ำของปุ๋ยฟอสฟอรัส กรดฟอสฟอริกเป็นของเหลวซึ่งยากต่อการใช้ การเก็บรักษาและการขนส่ง จึงได้นำกรดฟอสฟอริกไปทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย กลายเป็นแม่ปุ๋ย DAP (Diammonium Phosphate) สูตร 18-46-0 แม่ปุ๋ย MAP (Monoammonium Phosphate) สูตร 11-52-0 หรือใช้กระบวนการผลิตเดียวกันนี้ผลิตเป็นปุ๋ย N-P-K สูตรต่าง ๆ สำหรับปุ๋ยฟอสฟอรัสนั้น กรณีที่หินฟอสเฟตแพง ปุ๋ยฟอสฟอรัสก็จะแพงด้วย และถ้ากรดกำมะถัน (sulfuric acid) แพงปุ๋ยฟอสฟอรัสก็จะแพงด้วยเช่นกัน

ผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

วัตถุดิบอีกตัวหนึ่งคือ ปุ๋ยโพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ที่ขุดจากดินได้โดยตรง ที่เรียกกันว่าแร่โพแทช ประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทชขนาดใหญ่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดอุดรธานี หากโครงการพัฒนาเหมืองดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ก็จะได้แม่ปุ๋ยโพแทสเซียมใช้ในประเทศ ทดแทนการนำเข้าปีละประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

ผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

ผู้ค้าปุ๋ยพร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยเคมีในราคาพิเศษ

จากปัญหาราคาปัจจัยการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงเป็นที่มาของการออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระยะสั้นที่ภาครัฐบาลและเอกชนร่วมกันช่วยเหลือเกษตรกรคือ การขายปุ๋ยเคมีในราคาพิเศษ ผ่านสหกรณ์การเกษตร และกลุ่มสถาบันเกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่ครั้งแรก ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และมีการขยายเป็นครั้งที่สองจนถึงเดือนตุลาคม 2564 และล่าสุดนี้ได้ขยายเป็นครั้งที่สามจนถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยทางสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ช่วยเหลือปุ๋ยเคมีราคาพิเศษกับเกษตรกร 201,106 ตัน หรือ 4,022,120 กระสอบ

นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เป็นตัวแทนเกษตรมาร่วมแถลงด้วย และบอกว่าถ้าขาดปุ๋ยภาคการเกษตรก็ล่มสลาย..
นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เป็นตัวแทนเกษตรมาร่วมแถลงด้วย และบอกว่าถ้าขาดปุ๋ยภาคการเกษตรก็ล่มสลาย..

จากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระยะสั้นดังกล่าวเป็นมาตรการที่ดีที่ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ปุ๋ยมีราคาแพง เนื่องจากปุ๋ยเคมีเป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ควรทำอย่างระมัดระวัง ผู้กำหนดนโยบายควรเข้าใจธุรกิจและอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีอย่างลึกซึ้ง ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจออกนโยบาย มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบต่อทั้งเกษตรกรเองและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตร และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแทรกแซงกลไกของตลาด โดยทั่วไปแล้วจะทำให้เกิดสิ่งที่ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “การสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ (Deadweight loss)” ดังนั้นภาครัฐควรประเมินผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนที่จะทำการแทรกแซง มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการทำไปเพื่ออะไร ตอบโจทย์การช่วยเหลือเกษตรกรจริงหรือไม่ และที่สำคัญ ได้ผลดีมากกว่าผลเสียหรือเปล่าผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

จากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID -19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคเกษตรกรของไทย รวมทั้งเศรษฐกิจโลก ดังนั้นนโยบายภาคการเกษตรของประเทศไทยจะต้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีทิศทางและแนวทางที่ปฏิบัติได้จริงและสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ดีขึ้น หลายปีที่ผ่านมาภาครัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยเป็นที่ยอมรับต่อประเทศต่างๆ แต่สิ่งที่จะรองรับนโยบายดังกล่าว คือ ผลผลิตทางการเกษตร ที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อปรับแต่งพืชผลตามที่ต้องการ เช่น เร่งการเจริญเติบโตของใบและต้น เร่งการออกดอกออกผล เพิ่มขนาดและคุณภาพผลผลิต ซึ่งส่วนนี้ “ปุ๋ยเคมี” ถือว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพก็ควรใส่ปุ๋ยให้ถูกชนิด ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลาและถูกวิธี และต้องมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญให้คำแนะนำอย่างถูกต้องแก่เกษตรกร การวิเคราะห์ดิน-พืช  ซึ่งเป็นมาตราการที่จะต้องนำมาใช้อย่างจริงจัง รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานการเพาะปลูกพืช เช่น GAP การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช (Good Agricultural Practice) เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันและเป็นสิ่งที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้ค้าปุ๋ยฯ แจง 7 ปัจจัยปุ๋ยเคมีแพง พร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยราคาพิเศษกว่า 2 แสนตัน

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated