กรมประมง...ลุยต่อ “โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” โชว์ผลสำเร็จ “แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญ” จังหวัดอุดรธานี เปิดจับสัตว์น้ำ มุ่งกระจายรายได้ให้ชุมชน
กรมประมง...ลุยต่อ “โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” โชว์ผลสำเร็จ “แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญ” จังหวัดอุดรธานี เปิดจับสัตว์น้ำ มุ่งกระจายรายได้ให้ชุมชน

กรมประมง…เดินหน้า “โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” อย่างต่อเนื่อง โชว์ผลสำเร็จ“แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญ” จังหวัดอุดรธานี พร้อมเปิดจับสัตว์น้ำ 26 มีนาคม 2564 นี้ คาดสร้างรายได้
ให้ชุมชนไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท เงินปันผลไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

กรมประมง...ลุยต่อ “โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” โชว์ผลสำเร็จ “แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญ” จังหวัดอุดรธานี เปิดจับสัตว์น้ำ มุ่งกระจายรายได้ให้ชุมชน
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการเปิดจับสัตว์น้ำ แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญ จังหวัดอุดรธานี ว่า ที่ผ่านมากรมประมงมีการขับเคลื่อนการดำเนินงาน “โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี โดยบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้วยการให้ชุมชนเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินการ และกำหนดกติการ่วมกัน


ภายใต้หลักการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์” ซึ่งที่ผ่านมาโครงการฯ ได้รับการตอบรับที่ดี มีแหล่งน้ำเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้นกว่า 120 แห่ง ในพื้นที่ 47 จังหวัดทั่วประเทศ จนประสบผลสำเร็จเห็นผลเชิงประจักษ์ มีสัตว์น้ำสำหรับบริโภคในชุมชน สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ตลอดจน มีการจัดสรรผลประโยชน์คืนให้แก่สมาชิกโครงการ ฯ และรายได้ส่วนหนึ่งคืนกลับสู่ชุมชนเป็นต้นทุนในการพัฒนาชุมชน ก่อให้เกิดการพัฒนา
ด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป  

สำหรับในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีแหล่งน้ำที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 4 แหล่งน้ำ ได้แก่ หนองคำลากไม้ ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ หนองเสี่ยนดุม ตำบลนาดี อำเภอหนองแสง ทำนบปลาห้วยวังเบญ ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
และหนองหายโศก ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองหาน

“แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญ” ตั้งอยู่ที่ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งน้ำ
ที่เข้าร่วมโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2564 มีพื้นที่ขนาด 28 ไร่ เดิมทีแหล่งน้ำแห่งนี้มีการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร
เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้มีการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของแหล่งน้ำอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะด้านการประมง กรมประมงโดยสำนักงานประมงจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี จึงได้เข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีการบริหารจัดการแหล่งน้ำแห่งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำจืด
ของชุมชน เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนสำคัญสำหรับการบริโภค สามารถลดรายจ่ายครัวเรือนและสร้างรายได้ในชุมชน โดยชุมชนได้มีการทำประชาคมหมู่บ้านร่วมกันจัดทำแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ มีการจัดตั้งคณะกรรมการแหล่งน้ำ พร้อมร่วมกันออกกฎกติกาในการบริหารจัดการและจัดสรรรายได้ที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ สำหรับใช้พัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น สาธารณูปโภคในหมู่บ้าน วัด โรงเรียน เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ
ในปีต่อไป และส่วนหนึ่งปันผลคืนให้แก่สมาชิกตามกฎระเบียบที่ชุมชนร่วมกันกำหนดขึ้น  

โดยผลดำเนินงาน…

โดยผลดำเนินงานในปี 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดขายบัตรจับสัตว์น้ำเก่า มีรายได้กว่า 89,000 บาท หลังจากนั้น ชุมชนได้ร่วมกันดำเนินการตามแผนชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญ ในการผลิตสัตว์น้ำและสร้างรายได้
โดยใช้เงินงบอุดหนุนจากโครงการฯ จำนวน 175,000 บาท และมีเจ้าหน้าที่ประมงคอยเป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำจืดเพื่อเพิ่มเติมผลผลิตสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลาบ้า พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบลดต้นทุนการผลิต โดยการเพิ่มอาหารธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติในชุมชน มีการสอน
การเพาะสัตว์น้ำด้วยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (Mobile Hatchery) ทำให้ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพและทักษะ
ด้านการประมง จนสามารถการบริหารจัดการแหล่งน้ำของชุมชนได้เป็นอย่างดีเรื่อยมา สามารถสร้างรายได้
จากการอนุบาลลูกปลาจำหน่ายกว่า 55,000 บาท

ปัจจุบัน แหล่งน้ำทำนบปลาห้วยวังเบญมีการขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น มีคณะกรรมการบริหารองค์กรโครงการ จำนวน 21 คน มีสมาชิกเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนแล้วกว่า 77 คน มีเงินหุ้นรวมจำนวน 77 หุ้น ๆ ละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 7,700 บาท ซึ่งชุมชนจะมีการพิจารณาเปิดรับสมัครสมาชิกร่วมหุ้นเพิ่มเติมหลังจากมีการปันผลคืน
ให้สมาชิกแล้ว โดยกิจกรรมการเปิดจับสัตว์น้ำในวันนี้เป็นการเปิดจับปลาในแหล่งน้ำครั้งแรกตามแผนดำเนินงาน
ของชุมชนหลังจากปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำ และคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท และมีรายได้ปันผลคืนสู่ชุมชนและสมาชิกโครงการฯ ไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

อธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า จากความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้โครงการฯ นี้ ประสบผลสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะเกิดการสร้างรายได้ในชุมชนแล้ว ยังเกิดแหล่งเรียนรู้ด้านการประมงชุมชนต้นแบบ
เกิดความรัก ความสามัคคี ชุมชนมีทักษะด้านการบริหารจัดการทรัพยากรประมง ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง
พึ่งพาตนเองได้ นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated