การประกวดผลไม้ในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในปีนี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ได้จัดกิจกรรมการประกวดผลไม้ขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดประกวดเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการพัฒนาคุณภาพผลิตผล และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายระหว่างชุมชนกับคณะเกษตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยจัดให้มีการประกวดผลไม้ 18 ประเภท (ขาดเพียง 4 ประเภท ที่ไม่มีการประกวด คือ มะละกอผลดิบ ส้มเปลือกล่อน องุ่นพันธุ์ไวท์มาละกา และ องุ่นไร้เมล็ด) สำหรับผลการประกวดผลไม้แต่ละชนิด มีดังต่อไปนี้
- ขนุน ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 นพพล ตั้งวิชัย รางวัลที่ 2 นพพล ตั้งวิชัย รางวัลที่ 3 สินธุ์ เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 นพพล ตั้งวิชัย และรางวัลที่ 5 สินธุ์ เต๊กสงวน
- ชมพู่ ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 2 ชาตรี เต๊กสงวน รางวัลที่ 3 สมชาย เจริญสุข รางวัลที่ 4 ชาตรี เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน
- ฝรั่งผลเล็ก ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 สุนิสา เต๊กสงวน รางวัลที่ 2 สุนิสา เต๊กสงวน รางวัลที่ 3 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 สุนิสา เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 สุนิสา เต๊กสงวน
- ฝรั่งผลโต ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 2 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 3 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน
- กล้วยหอมทอง รางวัลที่ 1 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล รางวัลที่ 2 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล รางวัลที่ 3 สินธุ์ เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 สินธุ์ เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 สินธุ์ เต๊กสงวน
- กล้วยไข่ รางวัลที่ 1 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 2 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 3 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน
- กล้วยน้ำว้า รางวัลที่ 1 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 2 สินธุ์ เต๊กสงวน รางวัลที่ 3 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 สินธุ์ เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 น้ำผึ้ง เต๊กสงวน
- มะม่วงผลสุก ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 ปราโมทย์ วรชาติตระกูล รางวัลที่ 2 ปราโมทย์ วรชาติตระกูล รางวัลที่ 3 ปราโมทย์ วรชาติตระกูล รางวัลที่ 4 ปราโมทย์ วรชาติตระกูล และรางวัลที่ 5 เสียมฮง ตั้งวิชัย
- มะม่วงดิบ ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 นกเอี้ยง เกตุแก้ว รางวัลที่ 2 เสียมฮง ตั้งวิชัย รางวัลที่ 3 เสียมฮง ตั้งวิชัย รางวัลที่ 4 เสียมฮง ตั้งวิชัย และรางวัลที่ 5 เสียมฮง ตั้งวิชัย
- มะละกอผลสุก ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 นพพล ตั้งวิชัย รางวัลที่ 2 นพพล ตั้งวิชัย รางวัลที่ 3 สินธุ์ เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 สินธุ์ เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 สินธุ์ เต๊กสงวน
- ส้มโอ เนื้อสีชมพู/แดง รางวัลที่ 1 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล รางวัลที่ 2 เชาวรัตน์ รักษาผล รางวัลที่ 3 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล รางวัลที่ 4 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล และรางวัลที่ 5 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
- ส้มโอ เนื้อสีขาว/เหลือง รางวัลที่ 1 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล รางวัลที่ 2 ระวีวรรณ บริบูรณ์ รางวัลที่ 3 ระวีวรรณ บริบูรณ์ รางวัลที่ 4 ระวีวรรณ บริบูรณ์ และรางวัลที่ 5 ระวีวรรณ บริบูรณ์
- ลำไย ไม่จำกัดพันธุ์ รางวัลที่ 1 สินธุ์ เต๊กสงวน รางวัลที่ 2 สินธุ์ เต๊กสงวน รางวัลที่ 3 สินธุ์ เต๊กสงวน รางวัลที่ 4 สินธุ์ เต๊กสงวน และรางวัลที่ 5 สินธุ์ เต๊กสงวน
- มะพร้าวน้ำหอม รางวัลที่ 1 ว่าที่ รต. พิทักษ์ พึ่งพเดช รางวัลที่ 2 วรพจน์ กุศลสงเคราะห์กุล รางวัลที่ 3 ว่าที่ รต. พิทักษ์ พึ่งพเดช รางวัลที่ 4 วรพจน์ กุศลสงเคราะห์กุล และรางวัลที่ 5 อาทิตย์ สุพรม
อนึ่ง จากการติดตามข่าวการประกวดผลไม้มาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าสังเกตว่าตระกูล “เต๊กสงวน” กวาดรางวัลนำหน้าเกษตรกรคนอื่นๆในแทบทุกครั้งที่ประกวดในช่วงปีหลังๆ ซึ่งในเรื่องนี้ทาง “เกษตรก้าวไกล” จะได้สอบถามมาให้ได้รับทราบเพื่อเป็นข้อมูลต่อไป
ล่าสุด(11 มีนาคม2566) ทาง “เกษตรก้าวไกล” ได้รับคำอธิบายจาก ผศ.ดร.เจนจิรา ชุมภูคำ ประธานคณะกรรมการดำเนินการประกวด ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผลไม้ที่ได้รับรางวัลจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.มีใบรับรอง GAP แต่ละพืชที่ส่งประกวด
2.ลักษณะตรงตามพันธุ์
3.ลักษณะภายนอกสวยงาม ไม่ใหญ่ ไม่เล็ก และมีขนาดใกล้เคียงกัน
4.สีผลผิวไม่มีร่องรอยตำหนิ
5.รสชาติดี อร่อย
ผศ.ดร.เจนจิรา ชุมภูคำ (คนกลาง-ขวา)
“บางเจ้าทุกอย่างโอเคหมด มาตกตรงรสชาติค่ะ เช่น มะม่วง เมื่อตัดสินภายนอกเรียบร้อย ก็มาตัดสินภายในค่ะ สีเนื้อต้องสม่ำเสมอ ไม่ซีด ไม่ฉ่ำน้ำ ไม่ช้ำ แล้วต่อด้วยคุณภาพ วัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (ความหวาน) บางครั้งมีค่าสูง แต่พอชิม ความเปรี้ยวก็โดดตามก็มีค่ะ หรือบางทีความหวานเท่ากัน แต่พอชิมแล้ว จะตัดสินได้เลยว่า ถาดไหนที่อร่อย และควรได้รางวัลค่ะ”
“กรณี มะพร้าวน้ำหอม บางทะลาย เมื่อวัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (ความหวาน) มีปริมาณสูงกว่าทะลายอื่นๆ แต่พอชิมแล้ว มีความซ่าด้วย และไม่มีความหอมค่ะ…คือต้องโดดเด่น ทั้งหวานและหอม ไม่ซ่า รสชาติดีค่ะ”
กรณีของเกษตรกรตระกูลเต๊กสงวนที่กวาดรางวัลได้มากที่สุดมาอย่างต่อเนื่อง “อาจารย์เคยสงสัยเหมือนกันค่ะ เลยลงพื้นที่ไปมอบโล่รางวัลเอง เพื่อเยี่ยมดูสวน ว่ามีการปลูกผลไม้ที่ส่งประกวดจริงไหม ซึ่งเขาก็ปลูกจริงค่ะ ไม่ว่าจะเป็น สินธุ์ เต๊กสงวน, น้ำผึ้ง เต๊กสงวน, สุนิสา เต๊กสงวน คือเขาก็ปลูกผลไม้เป็นอาชีพด้วยค่ะ”
“ปีนี้ก่อนตัดสินประกวด กรรมการประชุมกัน มีมติว่าปีหน้าเพิ่มกฎเกณฑ์ คือ เกษตรกรสามารถส่งผลไม้เข้าประกวดได้แค่ 3 ตัวอย่างต่อ 1 ประเภท ค่ะ”
ทั้งหมดนี้ก็คือคำตอบจาก ผศ.ดร.เจนจิรา ชุมภูคำ ประธานคณะกรรมการดำเนินการประกวด ซึ่งย้ำว่ายินดีรับฟังมากๆ เพื่อให้การประกวดผลไม้งานเกษตรแฟร์ในปีต่อๆไปได้มีการพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งๆขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกรไทยและประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรนั่นเอง
(ขอบคุณภาพส่วนใหญ่จาก คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ รวมทั้งภาพบางส่วน จาก ลุงพร เกษตรก้าวไกล และ น้าตู่ ..เพื่อประโยชน์ร่วมกันของเกษตรประเทศไทย)