ต้องการปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง..ปุ๋ยเกษตรก้าวไกลสูตรปลาหมักผสมขี้ค้างคาวจากกระบี่ มีดีให้ลอง

ตามเอกสารวิชาการที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์ พบว่า ข้อเด่นของปุ๋ยอินทรีย์ที่เหนือกว่าปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยอินทรีย์มีอินทรีย์วัตถุ มีธาตุอาหารรอง และจุลธาตุที่จำเป็นต่อจุลินทรีย์ดินและพืช ที่ปุ๋ยเคมีไม่มี นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังทำให้ดินมีสภาพเป็นกลาง ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างยาวนานจะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดซึ่งมีผลทำให้มีการละลายแร่ธาตุที่ไม่พึงประสงค์ออกมาให้แก่รากพืช เช่น อะลูมิเนียม ทำให้พืชมีลักษณะแคระแกร็นและเป็นโรคง่าย ปุ๋ยอินทรีย์ยังเพิ่มจำนวนจุลอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ และสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ทำให้ดินมีโครงสร้างโปร่ง ร่วนซุย อ่อนนุ่ม อุ้มน้ำ

แต่ในข้อเด่นก็มีข้อด้วย..ข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ คือ มีธาตุอาหารหลักต่ำกว่าปุ๋ยเคมี และต่ำกว่าปุ๋ยอินทรีย์เคมี ซึ่งผลิตจากการผสมปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีเข้าด้วยกัน ทำให้บางครั้งต้องใช้ในปริมาณมากเพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการของพืช

ตรงข้อมูลนี้เอง ที่เกษตรกรผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ว่าดินของตน ต้นไม้หรือพืชที่ปลูกนั้น ขาดธาตุอาหารชนิดไหน วิธีการที่ดีที่ถูกต้องก็คือ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ของดิน นำตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์หาค่าธาตุอาหาร N P K แต่จะมีใครสักกี่คนที่จะปฏิบัติได้ และบางคนปฏิบัติได้ก็ยังขาดประสบการณ์ในการใช้ปุ๋ย เช่น วิเคราะห์ว่าดินขาดตัว P (ปุ๋ยฟอสฟอรัส) จึงเติมปุ๋ยเคมีเข้าไป ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก แต่หารู้ไหมว่าฟอสฟอรัสถูกตรึงอยู่ในดินพืชไม่สามารถดูดซึมมากินมาใช้ได้ เพราะฉะนั้นปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นตัวช่วยชั้นดี

เมื่อพูดมาถึงตรงนี้..ขอนำเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2557 (ตามภาพประกอบ) มาเป็นข้อมูลประกอบ

ข้อ 3 กำหนดลักษณะเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการควบคุมคุณภาพดังต่อไปนี้

(1) กรณีไม่เป็นปุ๋ยอินทรีย์เหลว

(ก) ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนัก ฟอสฟอรัสทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก และโพแทสเซียมทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก หรือมีปริมาณธาตุอาหารหลักรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก

(ข) อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่เกิน 20:1

(ค) ความชื้นไม่เกินร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก

เราหันมาดูกรณีของ ปุ๋ยอินทรีย์เกษตรก้าวไกล ตราหมวกเขียว ที่ได้เปิดตัวผ่านโลกออนไลน์ไปเมื่อต้นปี 2567 ว่า จะมีธาตุอาหารหลัก ตามที่กรมวิชาการเกษตรตรวจวิเคราะห์ มากน้อยแค่ไหน ดังนี้

  • ปริมาณไนโตรเจน 2.4 (กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนัก)
  • ปริมาณฟอสฟอรัส 6.7 (กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้มีฟอสฟอรัสทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก)
  • ปริมาณโพแทสเซียม 2.4 (กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้มีโพแทสเซียมทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก)
  • โดยสรุปมีปริมาณธาตุอาหารหลักรวม 11.5 (กรมวิชาการเกษตรกำหนดให้มีปริมาณธาตุอาหารรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก)

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร กำหนด อัตราส่วนคาร์บอนต่อในโตรเจนไม่เกิน 20:1 แต่กรณีของปุ๋ยเกษตรก้าวไกล มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อในโตรเจนเพียง 9/1 และ กรมวิชาการเกษตรกำหนด ความชื้นไม่เกินร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก แต่ปุ๋ยเกษตรก้าวไกลมีความชื้นเพียง 6.3

ยังมีข้อกำหนดอีกหลายข้อ ที่จะต้องเข้าเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ซึ่งในกรณีของผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จะไม่สามารถนำผลวิเคราะห์ไปโฆษณาได้ แต่ในส่วนของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสามารถเรียกขอดูจากโรงงานผู้ผลิตได้

โดยในเรื่องนี้นั้น อาจารย์สมาน รักษาพราหมณ์ ในฐานะผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์หลายตรา เช่น ตราสนฉัตร ตราสมอบก ตราซีสตาร์ และล่าสุดคือ ปุ๋ยเกษตรก้าวไกล ตราหมวกเขียว กล่าวว่า ปุ๋ยอินทรีย์ทุกตราคุณภาพสูง ผู้ใช้เพียงเติมปุ๋ยเคมีเข้าไปไม่มากก็จะได้ธาตุอาหารครบ แต่ละตราก็ใช้วัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมมาจากแหล่งเดียวกัน โดยดำเนินการผลิตมาหลายสิบปี ได้รับความเชื่อมั่นจากเกษตรกรผู้ใช้ แต่ที่ผ่านมาผลิตขายส่งในประเทศเพื่อนบ้าน และเพิ่งจะช่วงโควิด 19 ที่ผ่านมาได้เน้นที่จะผลิตขายในประเทศ ซึ่งก็จะมีผู้ใช้เจ้าประจำ ไม่ได้เน้นขายตามร้านค้า แต่เน้นส่งตรงจากโรงงานถึงบ้านทั่วประเทศ (สามารถติดต่อตรงได้ที่ โทร.ไอดีไลน์ 0863185789 หรือ 0632799000)

จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์เกษตรก้าวไกล ตราหมวกเขียว ก็คือวัตุดิบที่นำมาผลิต โดยเฉพาะปลาหมัก และปลากระป๋องหมดอายุ รวมทั้ง มูลค้างคาว ฉี่ค้างคาว จากจังหวัดกระบี่ ซึ่งวัตถุดิบทั้ง 2 ชนิดนี้ ให้ธาตุอาหารตัวกลาง หรือตัว P (ฟอสฟอรัส) สูงมาก

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถชมได้จากคลิปที่นำมาประกอบ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ล่าสุดที่โรงงานย่านบางเลน จ.นครปฐม

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated