จากข่าวที่มีการตรวจพบการปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนของไทยที่ส่งออกไปจีน ในปี 2567 จำนวน 5 ครั้ง ใน 15 ชิปเม้นต์ ก็ทำให้หลายฝ่ายต้องเต้นไปตามจังหวะ เฝ้าระวังอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตรได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขในทันที
ตามเอกสารทางวิชาการสารแคดเมียมหรือโลหะหนักมีโอกาสปนเปื้อนมาสู่ทุเรียนได้หลายช่องทาง เช่น ทาง ดิน น้ำ ปุ๋ยและสารเสริมประสิทธิภาพปุ๋ย (ขอนำเอกสาร ระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พืชตระกูลแตง กรมวิชาการเกษตร มาเปรียบเทียบ) ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดปัญหากับทุเรียนเวียดนาม และก็มาถึงไทยในวันนี้
ปัญหานี้คงต้องสืบไปให้ถึงต้นตอว่าแท้ที่จริงแล้ว ทุเรียนของเราปนเปื้อนมาจากจุดไหน สาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ คิดว่าคงไม่มีชาวสวนหรือผู้เกี่ยวข้องคนใดตั้งใจจะให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหาสาเหตุให้เจอ แก้ให้ตรงจุดและก็อย่าให้เกิดขึ้นอีก…
วกมาเรื่องที่ได้จั่วหัวไว้ ทีมงานปุ๋ยอินทรีย์เกษตรก้าวไกล ตราหมวกเขียว “สูตรปลาหมักผสมขี้ค้าวคาว” (สูตรอาจารย์สมาน รักษาพราหมณ์) รายงานมาว่า พอทราบข่าวทุเรียนไทยที่ส่งออกไปจีนปนเปื้อนแคดเมียมก็รีบตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ยทันที เพราะจำได้ว่าในใบทดสอบตัวอย่างปุ๋ยมีกำหนดเกณฑ์ในเรื่องแคดเมียมอยู่ด้วย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรกำหนดว่าไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก็ปรากฎไม่พบแต่อย่างใด รวมไปถึงสารหนู ทองแดง ตะกั่ว ปรอท ฯลฯ ตามข้อมูลในตารางข้อ 11 (ภาพประกอบ) ก็ทำให้โล่งใจ
แต่ว่าไหนๆก็ไหนๆ ก็เลยนำข้อมูลอื่นๆ ที่แสดงถึงมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรมาเปิดเผยให้ทราบกันชัดๆอีกครั้ง ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่อยู่ในกูเกิ้ลอยู่แล้ว เพียงแต่นำมาเปรียบเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์เกษตรก้าวไกลว่ามีมาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่ ซึงหากพิจารณาอย่างละเอียดก็จะพบว่าเกินมาตรฐานในทุกข้อ โดยเฉพาะ ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 9 และข้อ 10 (ส่วนข้อ 11 ก็ดังที่กล่าวไปแล้ว)
แต่ละข้อนั้นล้วนมีความสำคัญที่บ่งบอกถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง ที่บอกว่าสูงชนเพดานก็หมายถึง ธาตุอาหารหลัก N P K รวมกัน สูง 11.5 เฉียดๆ(น้องๆ)ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สูตร 6 -3 -3 แถมยังมีธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมครบถ้วน ในขณะที่กรมวิชาการเกษตร กำหนดไว้ว่าธาตุอาหารหลักในปุ๋ยอินทรีย์ต้องมีไม่ต่ำกว่า 2 เรียกว่าสูงกว่าเกณฑ์กำหนดเกือบ 5 เท่าตัว สูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ทุกตราเท่าที่จะหาข้อมูลมาได้ (หรือว่าใครที่เห็นว่าตราไหนสูงกว่าก็แจ้งกันเข้ามาได้) นี่ยังไม่นับรวมค่าย่อยสลายที่สมบูรณ์ (germination index) หรือค่า GI ตามข้อ 10 ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดว่าต้องไม่ต่ำกว่า 80% แต่ปุ๋ยเกษตรก้าวไกลมีสูงถึง 154.7%
ค่า GI สำคัญอย่างไร เปรียบไปก็เหมือนการปรุงอาหาร ต่อให้วัตถุดิบดีเลิศเพียงใด ถ้าปรุงไม่ถูกสูตรหรือปรุงไม่สุกมันก็ไม่อร่อย มิหนำซ้ำเป็นโทษต่อร่างกาย เปรียบกับปุ๋ยอินทรีย์ก็คือต้องผ่านการหมักที่สมบูรณ์จริงๆ กรณีปุ๋ยอินทรีย์เกษตรก้าวไกลหมักนาน 8 – 12 เดือน หมักจนเป็นฮิวมัส และจ่อที่จะเป็นฮิวมิค ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ไม่ใช่ว่าต้องไปย่อยกันต่อหรือดึงไนโตรเจนดึงจุลินทรีย์ในดินมาช่วยย่อยสลายกันอีก ถ้าเป็นอย่างนี้ก็อาจจะมีสารพิษหรือก่อให้เกิดพิษต่อพืชได้ (คลิกชมคลิปประกอบ จีนพบ “ทุเรียนไทย” ปนเปื้อนสารแคดเมียม)
ต่อกรณีที่เกิดการปนเปื้อนในทุเรียนที่ส่งออกไปจีนก็หวังว่าจะทำให้ทุกฝ่ายหันมาเฝ้าระวัง ทำการเกษตรด้วยองค์ความรู้กันให้มากขึ้น จะซื้อปุ๋ยทั้งทั้งทีก็ต้องให้คุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.ไอดีไลน์ 0863185789 หรือ 0632799000 (คุณศุภชัย) นะครับ