การจัดงานเรียนรู้กลางสวน ในแบบฉบับ Field day เป็นกิจกรรมการพบปะผู้รู้จากผู้มีประสบการณ์จริง นับเป็นสิ่งสำคัญ เรามักจะได้ยินการจัดงาน Field day ที่ทางราชการมักจะจัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ แต่ในส่วนเอกชนก็มักจะจัดงานในลักษณะนี้อยู่บ้าง โดยเฉพาะระยะหลังๆมานี้ เพราะว่าจะได้กลุ่มที่เป็นเกษตรกรตัวจริง และเป็นการเรียนรู้ภาคสนามคือ เรียนรู้จากเกษตรกรด้วยกัน

อย่างเช่นงาน Field day ที่ อ.ภพศักดิ์ ปานสีทอง เจ้าของผลิตภัณฑ์ปุ๋ย อ.ภพ AG-ZIENCE และในฐานะกลุ่มใส่ปุ๋ยให้ถูกพืชก็งาม ในเฟสบุ๊ค เป็นผู้จัดขึ้นที่สวนทุเรียนคุณน้อง หรือ “เฮียน้อง” และน้องวุฒิ (บุตรชายเฮียน้อง) เจ้าของสวนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอ.ภพและกรุณาให้ใช้พื้นที่เปิดสวนเพื่อให้ความรู้ชาวสวนทุเรียน..ถือเป็นการเปิดกลเม็ดเคล็ดลับในการทำสวนให้กับเพื่อนเกษตรกรและผู้สนใจที่มาร่วมงาน

โดย อ.ภพศักดิ์ ปานสีทอง ได้บรรยายให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนได้ทราบถึงสถานการณ์ของตลาดปลายทางและการใช้ปัจจัยการผลิตที่จะต้องระมัดระวังเรื่องการปนเปื้อน โดยเฉพาะในเรื่องแคดเมียมและ BY2 ที่กำลังกลายเป็นข้ออ้างให้ทางประเทศจีนกีดกันสินค้าทุเรียนจากประเทศไทย

“สิ่งที่เราเกษตรกรต้องตระหนัก คือการผลิตทุเรียนคุณภาพ ที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชม ปราศจากสารปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งเกษตรกรของเราเก่งอยู่แล้ว แต่ต่อไปนี้จะต้องเน้นวิชาความรู้ ปลูกทุเรียนด้วยวิทยาศาสตร์ นำองค์ความรู้มาบริหารจัดการ จากที่ผมเดินทางไปดูงานปลูกทุเรียนเมืองไห่หนานประเทศจีน เขาใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งสภาพพื้นที่ ดินฟ้าอากาศสู้บ้านเราไม่ได้ เรามีสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกว่าเขามากและเราปลูกทุเรียนกันมานาน เพียงแต่การปลูกของเราจะต้องอาศัยความรู้ ใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านงานวิจัยที่ถูกต้อง ทั้งปุ๋ยและยา จะต้องศึกษาทำความเข้าใจว่าใช้แล้วคุ้มค่าจริงๆ เพราะอนาคตเราต้องแข่งกันเรื่องต้นทุนการผลิตด้วย”

สรุปปิดท้าย อ.ภพศักดิ์ กล่าวว่า…
“งาน Field.day เปิดสวนทุเรียนคุณวุติสุดยอดการเกษตร ต.กองดิน ระยอง ถือว่าประสบความสำเร็จมากครับ มีผู้สนใจที่ลงทะเบียนไว้ประมาณ 100 คน และเป็นสวนที่มีการบริหารจัดการดีมาก ทุเรียน 1000 ต้น เฉลี่ยต้นละ 100 ลูก ระยะปลูก10X10 อายุต้น 12ปี..ทุกคนเห็นร้องว้าววววว กับผลลัพธ์และงานวิจัยของบริษัท AGZ จึงหวังว่าทุกคนจะได้เห็นจะได้สัมผัส เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จคือการเรียนรู้จากของจริงก็หวังว่าทุกคนจะทำทุเรียนได้คุณภาพในโอกาสต่อไป”

สำหรับสวนทุเรียนคุณวุฒิ เฮียน้อง ในแปลงที่จัดงานครั้งนี้ มีจำนวน 80 ไร่ ทุเรียนกำลังจะตัด ทางเฮียวุฒิกล่าวว่า น่าจะได้ผลผลิตรวมกันประมาณ 180 ตัน โดยทำสัญญาซื้อขายแบบคว่ำหนามกิโลกรัมละ 180 บาท ปัด 5% นับว่าเป็นราคาที่น่าพอใจ ท่ามกลางข่าวสารในวงการทุเรียนที่ผันผวนพอสมควร
เกษตรก้าวไกลLIVE-ติดตาม อ.ภพศักดิ์ เปิดห้องเรียนกลางสวนทุเรียนที่แกลง https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/1629664444362611
