โครงการไม่เผา ๙๙ เฟ้นหา “เกษตรกรฮีโร่ เลือกไม่เผา” หนุนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว

วันที่ 2 เมษายน 2568 โครงการเรนนำคณะทีมงานลงพื้นที่แปลงนาที่สุพรรณบุรี เพื่อไปจัดกิจกรรม “ไม่เผา ๙๙” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภูมิภาคด้านนวัตกรรมการเกษตร (โครงการเรน) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรแห่งประเทศสหรัฐและดำเนินการโดยองค์การวินร็อคอินเตอร์เนชั่นแนล โดยร่วมมือกับพันธมิตร ประกอบด้วย เริ่มกิจกรรม “ไม่เผา ๙๙” เสริมสร้างพันธมิตร มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจ

โครงการไม่เผา ๙๙ เฟ้นหา “เกษตรกรฮีโร่ เลือกไม่เผา” หนุนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว

โดยในพิธีเปิดโครงการไม่เผา ๙๙ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน มาเป็นประธานในพิธี พร้อมแขกผู้มีเกียรติจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งพี่น้องเกษตรกรชาวนามาร่วมงานกว่า 500 คน

โครงการ “ไม่เผา ๙๙” ส่งเสริมให้ชาวนาใช้จุลินทรีย์เป็นเครื่องมือย่อยสลายฟางและตอซังข้าว และฟื้นฟูคุณภาพดิน ผ่านแปลงนา 9 แปลง เพื่อสาธิตการใช้จุลินทรีย์สำหรับจัดการแปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว และรับสมัครชาวนาที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่เผาให้เป็น “เกษตรกรฮีโร่ เลือกไม่เผา”

หนึ่งในนั้นก็คือแปลงนาในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแปลงนาของ นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ หมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเป็นพื้นที่สาธิตแห่งแรกที่ให้โอกาสเกษตรกรและบุคคลที่สนใจเข้าเรียนรู้ด้วยตนเอง

โครงการไม่เผา ๙๙ เฟ้นหา “เกษตรกรฮีโร่ เลือกไม่เผา” หนุนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว
นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ

นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เจ้าของแปลงนาสาธิต และในฐานะหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวระหว่างนำผู้สนใจเดินชมแปลงนา ว่า ตนเองได้แบ่งพื้นที่ 8 ไร่ เป็น 8 แปลงสำหรับสาธิตประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายฟางและตอซังเพื่อเตรียมแปลงนา ปรับปรุงคุณภาพของดินและสิ่งแวดล้อมในแปลง ตลอดจนเพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารและความแข็งแรงของต้นข้าว

แปลงที่ 1 แสดงให้ผู้เยี่ยมชมเห็นขณะที่กำลังฉีดพ่นหรือเทสารละลายจุลินทรีย์ลงไป แปลงที่ 2 แสดงให้เห็นผลของสารละลายจุลินทรีย์หลังจากผ่านไป 3 วัน ซึ่งพบว่าฟางนิ่มพอที่จะปั่นฟาง แปลงที่ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงหลังจากใช้สารละลายจุลินทรีย์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แปลงที่ 4 เป็นแปลงที่ไม่ได้ใช้การบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่มีต้นข้าวอายุ 2 เดือน และอีก 4 แปลงที่เหลือเป็นแปลงเปรียบเทียบของต้นข้าวอายุ 2 เดือนที่ใช้จุลินทรีย์ต่างผลิตภัณฑ์

“ในขณะนี้มีผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายฟางและตอซังข้าวหลายตัวในตลาด คิดเป็นต้นทุนของการใช้งานตกเฉลี่ยที่ประมาณ 70 บาท ถึง 100 บาทต่อไร่”

เกษตรก้าวไกลLIVE- บุกบ้านชาวนาสุพรรณบุรี https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/2715958055271094

ชาวนาพันธุ์แท้ ถึงคราวต้องปรับตัว.. https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/1162914465113793

เกษตรก้าวไกลLIVE- ลุยพิสูจน์แปลงนาย่อยสลายตอซัง ที่สุพรรณบุรี https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/29418396224440520

โครงการไม่เผา ๙๙ เฟ้นหา “เกษตรกรฮีโร่ เลือกไม่เผา” หนุนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว

คุณดรุณี เอ็ดเวิร์ดส กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าสำหรับกิจกรรม “ไม่เผา ๙๙” มูลนิธิมีบทบาทส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรจากหลายภาคส่วนให้ชาวนาใช้จุลินทรีย์แทนการเผา ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนในการเตรียมที่ดินสำหรับการปลูกข้าว นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทามลภาวะอากาศที่มีฝุ่นพิษจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นความเสี่ยงทางสาธารณสุขที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นในประเทศไทย

นอกจากแปลงสาธิตที่จ.สุพรรณบุรี โครงการเรนได้รับอนุญาตจากมูลนิธิชัยพัฒนาให้ใช้พื้นที่ศูนย์บริการการเกษตรใน 8 จังหวัดในภาคกลาง และภาคตะวันออกฉียงเหนือ ได้แก่ชัยนาท นครสวรรค์ พิจิตร อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ปทุมธานี และนครนายก เพื่อเป็นต้นแบบส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์แก่เกษตรกรในชุมชน

เกษตรก้าวไกลLIVE-3 คุณดารุณี เอ็ดเวิร์ดส เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงความร่วมมือ ในโครงการ “ไม่เผา ๙๙”  https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/1196380548618591

โครงการไม่เผา ๙๙ เฟ้นหา “เกษตรกรฮีโร่ เลือกไม่เผา” หนุนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว

คุณสรรศุภร วิชพันธุ์ ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่าจุลินทรีย์ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับชาวนาเพื่อหลีกเลี่ยงการเผาเพราะการศึกษาพบว่าย่อยสลายฟางและตอซังข้าวได้โดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพของชาวนา

“การทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายฟางและตอซังข้าวที่ศูนย์บริการการเกษตรมูลนิธิชัยพัฒนา ปทุมธานี คลอง 11 ได้ผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามควรมีภาพที่สมบูรณ์จากการทดสอบเชิงเปรียบเทียบกับปัจจัยด้านดิน น้ำ และสภาพอากาศที่ต่างกันในพื้นที่อื่นๆ”

คุณวิลเลี่ยม สปาร์กส์ ผู้อำนวยการโครงการเรน
คุณวิลเลี่ยม สปาร์กส์

คุณวิลเลี่ยม สปาร์กส์ ผู้อำนวยการโครงการเรน กล่าวว่า โครงการเรนมีเป้าหมายใช้กลไกตลาดส่งเสริมให้ชาวนาใช้จุลินทรีย์ในวงกว้าง เนื่องจากจุลินทรีย์เป็นทางออกที่สำคัญให้ชาวนาเมื่อรัฐบาลไทยประกาศห้ามเผาแปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้การใช้จุลินทรีย์ยังช่วยฟื้นฟูคุณภาพดิน และเพิ่มผลผลิตข้าว ทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โครงการเรนได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ และพบว่านวัตกรรมนี้สามารถช่วยชาวนาเตรียมแปลงหลังการเก็บเกี่ยวสำหรับปลูกข้าวครั้งต่อไปภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งเป็นความจำเป็นของชาวนาที่ปลูกข้าวนอกฤดูกาลโดยใช้น้ำจากระบบชลประทาน

“เมื่อเราบอกชาวนาว่า “ห้ามเผา” ประโยคนี้ยังไม่ครบถ้วนครับ เราควรอธิบายต่อไปว่าเมื่อไม่เผาแล้วชาวนาจะทำอย่างไร โครงการเรนมีคำตอบให้ นั่นก็คือใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายฟางและตอซัง”

กิจกรรมไม่เผา 99 เปิดโอกาสให้ชาวนาและบุคคลทั่วไปได้เรียนรู้โดยตรงจากพื้นที่สาธิตและรับสมัครเกษตรกรฮีโร่เลือกไม่เผา 99 คน ซึ่งจะได้รับชุดเครื่องมือจุลินทรีย์และคำแนะนำการใช้งานและได้รับความช่วยเหลือในการจัดทำแปลงสาธิตเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวนารายอื่นๆต่อไป นอกจากนั้นจะสร้างเครือข่ายร้านค้าผลิตภัณฑ์เกษตรที่วางขายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง

โครงการไม่เผา ๙๙ เฟ้นหา “เกษตรกรฮีโร่ เลือกไม่เผา” หนุนใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว

ก่อนหน้านี้โครงการเรนประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ชาวนาในพื้นที่ 4 จังหวัดรอบลุ่มแม่น้ำชีใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางและตอซังข้าว และกำลังขยายการส่งเสริมให้ครอบคลุมทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ในอนาคตอันใกล้โครงการเรนจะขยายการส่งเสริมให้ชาวนาใช้จุลินทรีย์แทนการเผาในประเทศอื่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated