นางศิรินทิพย์ เซ่งใจดี เกษตรกรสวนยางและเจ้าของฟาร์มเห็ดฟาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ได้เริ่มทำเห็นฟางมาตั้งแต่ปี 2557 ในช่วงยาพาราราคาตก หวังที่จะสร้างรายได้เสริมทำรูปแบบเพาะเห็ดกองเตี้ย และเปลี่ยนเพาะแบบโรงเรียน โดลลงทุนโรงเรื่องละ 50,000 บาท พร้อมขุดบ่อน้ำ  สระน้ำ ลงทุนซื้อเตาอบฆ่าเชื้อ  เครื่องตัดใย เครื่องพ่นเชื้อ เครื่องสูบน้ำ เป็นการลงทุนค่อนข้างสูงในช่วงแรกๆ แต่ผลการลงทุนนั้น  ได้ผลผลิตที่ดี 12 วันก็เก็บเกี่ยวได้ และ 20-35 วันก็จะเก็บเกี่ยวในรอบถัดไป หนึ่งโรงเรือนเก็บต่อเดือนประมาณ 300 กิโลกรัม รายได้ต่อโรงเรือนประมาณ 10,000 บาท โดยปัจจุบันมี 5 โรงเรือนสามารถทำรายได้ ได้ 70,000 บาท เมื่อเทียบกับการกรีดขายน้ำยางหนึ่งแปลง 10 ไร่ มีรายได้ดีกว่าขายน้ำยาง ตัดยางมีต้นทุนที่สูงกว่าเนื่องจากค่าแรงคนตัด ส่วนเห็ดฟางนั้น จะมีค่าใช้จ่ายเรื่องการจ้างแรงงานตัดตีนเห็ด และการขนทะลายปาล์มขึ้นชั้นในโรงเรือน แต่ถือว่าเป็นต้นทุนที่ถูกและเป็นการจ้างแรงงานกลุ่มแม่บ้านให้มีงานทำ

ผลผลิตที่ได้ดีมาก ทำรายได้เสริมเกินคาด
ผลผลิตที่ได้ดีมาก ทำรายได้เสริมเกินคาด

ด้านการตลาดรับซื้อนั้น จะมีทั้งพ่อค้า แม่ค้ามารับถึงที่ รวมถึงการจัดส่งตลาดไกลๆที่สั่งซื้อมา ตั้งแต่ทำฟาร์มเห็ดมามีรายได้ดีตลอด ในแต่ละรอบจะขายได้ตั้งแต่ 400 กิโลกรัมถึง1,000 กิโลกรัม ราคาอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 50 -70 บาท ขึ้นกับช่วงราคาดีหรือไม่ดี แต่ไม่ขาดทุน

ผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่
ผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่

สำหรับการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์ม มีขั้นตอนและวิธีการเพาะ ดังนี้

1 . วัสดุเพาะและอาหารเสริม วัสดุเพาะ คือ ทะลายปาล์มน้ำมัน อาหารเสริมจะใช้มูลสัตว์ตากแห้งหรือย่อยสลายจนเจือจางแล้ว มูลสัตว์ต่างๆ ได้แก่ มูลวัว มูลควาย หมู ไก่หรืออาหารเสริมอื่นๆ เช่น คายข้าวหรือละอองข้าว

  1. การเตรียมวัสดุเพาะทะลายปาล์มใหม่สดหรือค่อนข้างใหม่ นำมากองแล้วรดด้วยน้ำปูนขาว (โดยใช้ปูนขาว ซึ่งเป็นหินปูนหรือปูนก่อสร้าง 1 กิโลกรัม ใส่น้ำ 20 ลิตร) ให้ชุ่มแล้วกองสุมไว้ให้เกิดความร้อนประมาณ 5-7 วัน โดยกลับกองทะลายปาล์ม 3 วันต่อครั้งแล้วจึงนำไปใช้
  2. สถานที่เพาะและการเตรียมดินสถานที่เพาะควรเป็นพื้นที่ราบ น้ำไม่ท่วมขัง ควรเป็นดินที่ปลูกพืชได้ ไม่มีเชื้อโรค สารเคมีปนในดิน ทำการเตรียมดินโดยกลับผิวหน้าของดินและสับย่อยดินยกเป็นแปลงยาวโรยปูนขาว บางๆ ลงบนผิวหน้าดินนั้น
  3. เชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดฟางที่ใช้ควรเลือกเชื้อเห็ดที่ ไม่มีแมลงหรือเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ เช่น ราสีดำ ราเขียวเหลือง ราขาวและอื่นๆ ปะปน จะเห็นเฉพาะเส้นใยสีขาวซึ่งมีลักษณะเส้นใยยาวหนาแน่นดินต่อเนื่องในอาหารผสม จากปากถุงถึงกันถุง หรือก้นกระป๋องจนเป็นก้อน เชื้อที่เกาะกันเป็นก้อน ไม่หลุดร่วงแยกจากกัน เส้นใยเริ่มจับกันเป็นตุ่มดอกเล็กๆ มีกลิ่นหอมของเห็ดไม่มีกลิ่นบูด
  4. เวลาเพาะและการวางแนวกองควรเพาะตอนช่วงเช้าเพื่อจะได้สะสมความ ร้อนจากแสงอาทิตย์เก็บไว้ในแปลงเพาะจะได้กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใย เห็ดฟาง ที่ต้องการอุณหภูมิสูงในระยะแรก 1-5 วัน การวางแนวกองควรให้หัวท้ายของกองอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพื่อรับแสงอาทิตย์ได้ทั่วถึงตลอดทั้งแปลง
  5. วิธีการเพาะรดน้ำบนแปลงเพาะที่ได้เตรียมดินไว้แล้ว จึงนำทะลายปาล์มที่ผ่านการหมักเรียงบนแปลงเพาะพร้อมกับหว่านเชื้อเห็ดลงบน แต่ละทะลายปาล์มที่ทับซ้อนกันโดยให้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมที่มีความยาว x กว้างและสูงประมาณ 100 x 30 x 30-45 เซนติเมตรแล้วเลื่อนการกองทะลายปาล์มกองใหม่ห่าง จากกองแรกประมาณ 1-2 คืบ ทำกองตามขั้นตอนเดิมทุกๆ กอง โดยแต่ละกองวางขนานกันมีจำนวนกองประมาณ 10-20 กอง จากนั้นโรยอาหารเสริมรอบๆ กองเพาะและระหว่างกองทุกกอง เสร็จแล้วจึงโรยเชื้อเห็ดฟางทับบางๆ รดน้ำจนชุ่มทั่วทั้งแปลง ปิดแปลงทะลายปาล์มด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางตามความยาว แล้วคลุมทับด้วยฟางข้าวหนาประมาณ 4-5 เซนติเมตรหรือวัสดุอื่นๆ เช่นตับจากหรือทางมะพร้าว เพื่อรักษาอุณหภูมิในแปลงมิให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมากเกินไป6 เทคนิค “เพาะเห็ดฟางบนทะลายปาล์ม”

6 เทคนิค “เพาะเห็ดฟางบนทะลายปาล์ม” การเพาะในฤดูร้อน อาจลดจำนวนกองลงเหลือประมาณ 7 กองต่อแปลง ระยะห่างระหว่างกองห่างมากขึ้น และควรยกโครงไม้ไผ่ครึ่งวงกลม ปักระหว่างกองห่างหลังกองประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วจึงคลุมด้วยผ้าพลาสติก และปิดทับด้วยฟางข้าวหรือวัสดุอื่น การเพาะในฤดูหนาว ต้องมีจำนวนกองมากขึ้นประมาณ 15-30 กองต่อแปลง ขนาดของกองเพิ่มใหญ่ขึ้น ระยะห่างระหว่างกองให้ชิดกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มความร้อนในกองเพาะให้สูงขึ้น การเพาะในฤดูฝน ต้องเตรียมพื้นที่อย่าให้มีน้ำขังในแปลง ขุดร่อง ทำทางระบายน้ำ และหมั่นระบายความชื้นในแปลงให้มากขึ้น6 เทคนิค “เพาะเห็ดฟางบนทะลายปาล์ม”

(หมายเหตุ : จะใส่เชื้อเห็ดฟางลงเฉพาะบนพื้นดินรอบๆและระหว่างกองทุกแปลงก็ได้ โดยไม่ต้องใส่เชื้อเห็ดลงบนทะลายปาล์ม ผู้เพาะสามารถใส่เปรียบเทียบกันว่าคุ้มการลงทุนหรือไม่)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated