ชุมชนต้นแบบชีววิถีบ้านไทรย้อย หมู่ที่ 12 อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นชุมชนขยายผลที่ได้นำองค์ความรู้ ใน “โครงการชีววิถี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่ได้รับการส่งเสริมจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ ภายใต้การสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

NUT02237

นางไพรวรรณ คำเหลือง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 บ้านไทรน้อย เปิดเผยว่า ชุมชนแห่งนี้มีจำนวน 164 ครัวเรือน ประชากร 526 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป จุดเริ่มต้นที่ชาวชุมชนหันมาทำเกษตรอินทรีย์กันทั้งชุมชนเนื่องจาก เมื่อก่อนใช้สารเคมีกันเยอะทำให้ป่วยไข้สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง

NUT02275

ต่อมาในปี 2546 ได้มีการประชุมเพื่อทำประชาคมว่า ควรหันมาทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพของชาวบ้านและชุมชนกันดีไหม โดยมติที่ประชุมเห็นด้วย ให้ทุกคนหันมาทำเกษตรอินทรีย์ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วม 10 กว่าปี

NUT02286

“ ช่วงแรกๆ ได้เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ มาให้องค์ความรู้กับชาวบ้านในการทำเกษตรอินทรีย์ เพราะชาวบ้านยังไม่มีองค์ความรู้ และที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ มีโครงการชีววิถี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สนับสนุน มีแปลงสาธิตที่ชาวชุมชนได้เข้าไปดูงานพร้อมฝึกอบรมตามที่แต่ละคนสนใจ แล้วนำมาต่อยอดทำที่บ้าน และตั้งแต่เริ่มการทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

NUT02273

“ได้ส่งผลทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ทุกคนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ชาวบ้านมีความกระตือรือร้นในการลดรายจ่ายในครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น ผักที่ปลูกเหลือกินก็เอาไปขาย มีรายได้เสริม จนปัจจุบันได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนรู้โครงการชีววิถีบ้านไทรย้อย โดยได้รับการสนับสนุนจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานและนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเองของผู้คนที่สนใจ”

NUT02242

“ศูนย์เรียนรู้ก็มีองค์ความรู้ให้ศึกษาดูงานหลายเรื่อง เช่น เลี้ยงปลาด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม เลี้ยงไก่อารมณ์ดี เลี้ยงหมูหลุม ปลูกผัก ซี่งทั้งหมดจะนำจุลินทรีย์อีเอ็มมาเป็นตัวช่วย มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ตามแนวทางการทำการเกษตรที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม รู้สึกดีใจมากที่ชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างเช่น โรคมะเร็งก็ไม่เพิ่มจำนวน ชุมชนมีความรักใคร่กันสามัคคีกัน เอื้ออาทรต่อกัน ใครมีผักมีปลา ก็เอาไปแบ่งปันกันกิน“ นางไพรวรรณ กล่าว

จากความสำเร็จดังกล่าว ปัจจุบันชุมชนได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนรู้โครงการชีววิถีบ้านไทรย้อย เปิดให้เข้ามาศึกษาดูงาน นำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเองในชุมชนอื่นๆ ภายในศูนย์จะมีฐานกิจกรรมหลักทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเพาะปลูก ด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านปศุสัตว์ และด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวิธีการจัดการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การจัดทำบัญชีครัวเรือน

NUT02326

นอกจากนี้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ พร้อมทั้งชุมชนต้นแบบชีววิถีบ้านไทรย้อย ยังได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ประเภทที่ 5 ชุมชนที่ได้รับความรู้จากทางวิทยาลัย และใช้ได้ผลดีเด่น ซึ่งสะท้อนถึงเจตจำนงค์ และผลสำเร็จร่วมกันในการ “สืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชา” อย่างเป็นรูปธรรม

5473

โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จัดกิจกรรม “ชีววิถี อยู่ดี มีสุข”ครั้งที่ 3 ขึ้น ณ ชุมชนต้นแบบชีววิถีบ้านไทรย้อย ซึ่งมีตัวแทนชุมชน เช่น ชุมชนต้นแบบชีววิถีบ้านดงป่าสัก ชุมชนต้นแบบชีววิถีบ้านดู่เหนือ จังหวัดน่าน ตลอดจนนักศึกษา ทูตสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิสิตปริญญาโทคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวม 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งเชิงวิชาการ และลงมือปฎิบัติ

5471

นายถนอมพงค์ ชวลิตชีวินกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ(ช.อปน-๑.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ กฟผ.ได้น้อมนํา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดตั้ง “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ มีความเป็นอยู่อย่างพอประมาณ ลดการใช้สารเคมีตามวิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหัวใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายถนอมพงค์ ชวลิตชีวินกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ
นายถนอมพงค์ ชวลิตชีวินกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยได้อยู่ดี และมีสุขการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้วางแนวทางพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบด้วยแนวคิดทาง “ชีววิถี” สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมให้เกิดการเกื้อกูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพึ่งพากันในชุมชน อีกทั้ง กฟผ. ยังร่วมกับภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งในปัจจุบันมี 112 แห่ง และมีชุมชนต้นแบบจำนวน 54 ชุมชน และศูนย์การเรียนรู้โครงการ ชีววิถีภายในพื้นที่ กฟผ. หลายแห่งส่งผลให้ชุมชนทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 300 แห่ง ได้นําแนวทางนี้ ไปปฏิบัติใช้ และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนเช่นเดียวกับที่บ้านไทรย้อยแห่งนี้

S__29908999

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated