ประกาศลั่นทุ่ง “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” ลดเผาในพื้นที่เกษตรเป็น 0 ภายในปี 65
ประกาศลั่นทุ่ง “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” ลดเผาในพื้นที่เกษตรเป็น 0 ภายในปี 65 นำทีมโดย นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม

โครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม เริ่มต้นขึ้นโดยสยามคูโบต้าได้ร่วมมือกับจังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้จัดกิจกรรม Kick off “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม โดยมี นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี พร้อมกันนั้นมีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆและเกษตรกรมาร่วมงานคับคั่ง

พิธีการได้เริ่มต้นขึ้นโดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวถึงภารกิจที่จะผลักดันให้จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดนำร่องปลอดการเผา (Zero Burn) ในพื้นที่การเกษตร เนื่องจากปัญหามลพิษและ “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5” ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยกว่า 50% เกิดจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งรวมถึงการเผาในพื้นที่ทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม

ต่อจากนั้นได้มีการเสวนาบนเวทีเรื่อง “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” นำโดย นายปราโมทย์ วัฒนะรักษาการเกษตรจังหวัดมหาสารคาม พร้อมตัวแทนเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรการปลอดการเผาคือ นายวิชัย เผิ่งจันดา เกษตรกรชาวนาอำเภอนาดูน และ นายสิระวัฒน์ สีจันแก้ว เกษตรกรปลูกอ้อย อำเภอโกสุมพิสัย และยังมีตัวแทนฝ่ายรับซื้อฟางก้อน รวมทั้งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าชีวมวล โดยประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อจำกัด และ คุณพรเทวี วาชัยยุง ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ อีสานบน บริษัท แอบโซลูทคลีน อีเนอจี  จำกัด (โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ACE) รวมทั้ง นายวีรพงศ์ วิรบุตร์ ผู้จัดการภาคอีสานอาวุโส-แทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวงโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม

เนื้อหาสาระในการเสวนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาชี้ให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ความร่วมมือร่วมใจจะขับเคลื่อนนโยบายเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) เพื่อผลักดันให้จังหวัดมหาสารคามเป็นต้นแบบนำร่องแห่งแรกในการขับเคลื่อนโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ให้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” รายละเอียดการเสวนาคลิกดูที่ https://fb.watch/1SanCB8c-V/ และในงานครั้งนี้ยังมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเกษตรปลอดเผาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ACE โรงงานน้ำตาลวังขนาย ฯลฯโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม

นายวีรพงศ์ วิรบุตร์ ผู้จัดการภาคอีสานอาวุโส-แทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวง บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จํากัด กล่าวว่า สยามคูโบต้าได้ตั้งเป้าให้เกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริม สามารถเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร และนำไปใช้ในการทำการเกษตรปลอดการเผา สอดคล้องกับเป้าหมายภาครัฐในการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรให้เป็น 0 ภายในปี 2565 ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว และใบอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร Machinery Solutions และองค์ความรู้ด้านการเกษตร Knowledge Solutions ภายใต้องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร  มาปรับใช้ นำไปสู่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม

โดยในงานครั้งนี้ได้มีการสาธิตการใช้เครื่องจักรกลเกษตรที่จะนำมาใช้กับโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ให้เห็นกันชัดๆ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมงานมากทีเดียวโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม

สำหรับการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรและการขนส่ง ซึ่งถือเป็นหัวใจความสำเร็จของโครงการที่สยามคูโบต้าได้ให้การสนับสนุน โดยจะจัดหาทางเลือกการเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร ในรูปแบบต่างๆ ทั้งส่วนลดโปรโมชั่นพิเศษ การเช่าใช้เครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึง การพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อเป็นแพล็ตฟอร์ม ในการติดต่อผู้ประกอบการเครื่องจักรกลการเกษตร สำหรับให้บริการแก่เกษตรกร ด้วยการสนับสนุน 3 วิธี

  1. สำหรับเกษตรกรที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ บริษัทฯ สนับสนุนโปรโมชั่นพิเศษในการทำโครงการฯ โดยสามารถติดต่อสอบถามที่ผู้แทนจำหน่ายในพื้นที่
  2. สำหรับเกษตรกรที่สนใจและต้องการทดลองเข้าร่วมโครงการฯ บริษัทฯ สนับสนุนการเช่าใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
  3. สำหรับเกษตรกรรายย่อย บริษัทฯ สนับสนุนให้ใช้แอพพลิเคชั่น Getztrac ในการเรียกใช้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม

ทั้งนี้ เครื่องจักรกลการเกษตรที่สยามคูโบต้าสนับสนุนในพื้นที่ ได้แก่

อ้อย

  • เครื่องสางใบอ้อย เพื่อลดการขั้นตอนการสางใบ ทดแทนแรงงานคนในการตัดอ้อย
  • เครื่องอัดฟาง สำหรับอัดใบอ้อยก้อน เพื่อส่งให้แก่โรงไฟฟ้าชีวมวล สร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร

ข้าว

  • เครื่องอัดฟาง สำหรับอัดก้อนฟาง เพื่อส่งให้แก่ตลาดปศุสัตว์ เช่น สหกรณ์โคนม รวมทั้งการทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว และจัดทำเป็นวัสดุคลุมดิน สำหรับการเพาะปลูก
  • เครื่องพ่นอเนกประสงค์ สำหรับฉีดน้ำหมัก เพื่อเร่งการย่อยสลายของตอซังข้าวในนาโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม

ส่วนแนวทางการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง สยามคูโบต้า โดยทีมสาธิต เข้าประสานงานและวางแผนการขนส่งร่วมกับหัวหน้ากลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ และตลาดรับซื้อวัสดุชีวมวล ในการกำหนดวันขนส่ง เพื่อให้ตลาดสามารถจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาให้บริการแก่กลุ่มเกษตรกรได้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated