16271d04-6484-4738-9a0d-af99ccb6775c

นายณรงค์ วงษ์ศิริ ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 หันตรา พระนครศรีอยุธยา กรมชลประทาน เปิดเผยระหว่างนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามภารกิจช่วงหน้าแล้งประจำปี 2564 ตามนโยบายของ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ว่า การปฏิบัติงานของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 ตามภาคกิจที่รับผิดชอบในขณะนี้ได้ดำเนินการตามแผนที่กำหนดอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะกิจกรรมหลัก ในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออก รวม 17 จังหวัด ครอบคลุม 3 สำนักชลประทาน คือ สำนักชลประทานที่ 9, 10 และ 12

นายณรงค์ วงษ์ศิริ ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 หันตรา พระนครศรีอยุธยา
นายณรงค์ วงษ์ศิริ ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 หันตรา พระนครศรีอยุธยา

“ในส่วนการช่วยเหลือลดผลกระทบด้านภัยแล้งส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 ได้รับการสนับสนุนเครีองจักรกลที่มีประสิทธิภาพสูงจากสำนักเครื่องจักรกล โดย นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการ ทำให้ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 มีศักยภาพในการสนองนโยบายของกรมชลประทานตามเป้าหมาย ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากหัวหน้าฝ่ายต่างๆภายใน สบค ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแทร็คเตอร์ รถขุด เรือขุดเก็บวัชพืชทางน้ำรวมทั้งหน้าฝ่านวิศวกรรม” ผอ.ณรงค์ กล่าว

697705ab-43b0-40a6-807b-30aff8807bb3

ขณะที่ด้านเก็บวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ นายณรงค์กล่าวว่า วัชพืชที่พบมากส่วนใหญ่เป็นผักตบชวา ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 ได้ใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ในการกำจัด ทำให้สามารถเก็บผักตบชวาที่อยู่เป็นจำนวนมาก ได้ในเวลาอันรวดเร็วในทุกลำน้ำ ขณะเดียวกัน ฝ่ายเรือขุดเก็บวัชพืชได้เข้าดำเนินการในลำคลองสาขาที่มีความสำคัญ ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการน้ำ ผลดำเนินนถึงขณะนี้สำหรับภาคกลาง มีความคืบหน้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จทันตามแผนปฏิบัติการภัยแล้งประจำปีอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพการปฏิบัติงานและผลดำเนินการของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 ผอ.ณรงค์ จึงได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่อำเภอเมืองอ่างทอง ในเขตตำบลบางแก้ว ตำบลท่าอิฐ เพื่อติดตามผลปฏิบัติงานในคลองบางแก้ว ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญของการส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่อีกทั้งเป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำลพบุรี ซึ่งสคบ 5 ได้นำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีความสามารถในการตักเก็บที่ 30-35 ตันต่อชั่วโมง ทำให้คาดว่าคลองบางแก้วที่มีความยาวประมาณ 15 กิโลเมตรจะเสร็จสิ้นภายในเร็วนี้ๆนี้ตามที่กำหนด

275124

“ในการปฏิบัติงานของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 จะเน้นดำเนินการตามหลัก การเข้าถึง เข้าพบ และเข้าแก้ ซึ่งเป็นแนวทางที่อธิบดีกรมชลประทานได้มอบให้เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนของกรมฯต้องลงพื้นที่จริง นำปัญหามาวิเคราะห์และนำไปสู่การแก้ไขอย่างทันท่วงที จึงส่งผลทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายการทำงานและสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงรัฐบาล” ผอ.ณรงค์ กล่าวในที่สุด

989e1b8b-9eb5-4e5c-af43-e64114295d2d

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated