CPF ป้องเชื้อดื้อยา หนุนสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย
CPF ป้องเชื้อดื้อยา หนุนสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต เป็นที่มาของการคิดค้นเทคโนโลยีและวิจัยพัฒนานวัตกรรมจำนวนมาก ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ดำเนินการตามมาตรฐานหลักสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา ให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง

CPF ป้องเชื้อดื้อยา หนุนสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย
น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิชาการธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่ากระบวนการเลี้ยงสุกรของซีพีเอฟดำเนินการภายใต้ความปลอดภัยทางอาหาร มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ และการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อให้สัตว์ที่เลี้ยงมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ดี ปลอดภัย รวมถึงสิ่งแวดล้อมปลอดภัย

“ซีพีเอฟจะเน้น “การป้องกัน” ไม่ให้เกิดโรค หรือผลกระทบใดๆต่อสุกร โดยฟาร์มสุกรทั้ง 100% ของบริษัทเป็นฟาร์มระบบปิดตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์ และวางระบบการบริหารจัดการฟาร์มในระดับไบโอซีเคียวริตี้ พร้อมทั้งมีการให้วัคซีนแก่ลูกสุกรตามระยะเวลาที่สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำหนด ส่งผลให้ปัญหาเจ็บป่วยเกิดขึ้นน้อยมาก” น.สพ.ดำเนินกล่าว

CPF ป้องเชื้อดื้อยา หนุนสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย
หมู

ทั้งนี้ หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) ระบุว่าหากพบสัตว์ป่วยต้องให้การรักษา ดังนั้น ในกรณีที่พบการเจ็บป่วยแล้วเท่านั้นจึงจะมีการให้ยา โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มอย่างเข้มงวด และมีการเว้นระยะหยุดยาที่เหนือกว่ามาตรฐานทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีการตกค้างหรือส่งผลกระทบใดๆต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันเมื่อถึงโรงชำแหละ สุกรจะถูกตรวจสอบซ้ำอีกครั้งว่าปราศจากสารตกค้างจริงๆ จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้ารับการชำแหละ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้อีกขั้นตอนหนึ่ง

สำหรับความมุ่งมั่นในการป้องกันเชื้อดื้อยานั้น ซีพีเอฟได้ยกเลิกรายการยารักษาสัตว์ ที่อยู่ในกลุ่ม share-class antimicrobials (ยาต้านจุลชีพที่ใช้ได้ทั้งในคนและในสัตว์) ที่อาจส่งผลกระทบและเป็นยาหลักตัวสุดท้ายที่ใช้รักษาโรคในคน เช่น โคลิสติน ออกจากระบบการจัดซื้อทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อกันยาต้านจุลชีพที่สำคัญไว้ใช้กับคน โดยในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จะมุ่งเน้นวิธี “ป้องกัน” ต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ทั้งในสัตว์และในคนไปพร้อมกัน

จากการดำเนินการด้านการป้องกันผลกระทบใดๆต่อสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เมื่อปีที่ผ่านมาซีพีเอฟเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการปรับเลื่อนชั้นมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ – Animal Welfare ขึ้นจาก Tier 4 สู่ Tier 3 ในรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) ขณะเดียวกัน บริษัทยังคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพแข็งแรงให้สุกรอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้โปรไบโอติกช่วยจัดสมดุลลำไส้ ให้สัตว์มีสุขภาพดี ไม่ป่วย เมื่อไม่ป่วยก็ไม่มีการใช้ยาใดๆ ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมเป็น “สุขภาพหนึ่งเดียว” ของทั้งสัตว์ คน และสิ่งแวดล้อม

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated