นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตรแจ้ง 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว หลังผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชเข้าหลักเกณฑ์ให้นักปรับปรุงพันธุ์จดทะเบียนเป็นเจ้าของพันธุ์พืชใหม่ผลิตขายได้แต่เพียงผู้เดียว เผยยอดรวมชนิดพืชตามประกาศขอรับความคุ้มครองได้ถึง 100 ชนิดแล้ว ยูคาลิปตัสขึ้นแท่นแชมป์แห่จดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิ์มากสุด

กรมวิชาการเกษตรแจ้ง 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว
กรมวิชาการเกษตรแจ้ง 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว

นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2564 นี้มีผู้แจ้งความประสงค์ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้เพิ่มเติมจำนวน 7 ชนิดพืช ได้แก่ พืชสกุลแคนนาบิส ถั่วลิสง กะเพรา บัวบก โกโก้ กล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมและลูกผสม และหอมแดง กรมวิชาการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช จึงนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ และคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช เพื่อมีมติเห็นชอบเสนอพืชจำนวน 7 ชนิดพืชดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้  กรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง

การพิจารณาชนิดพืชเพื่อออกประกาศเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่สามารถนำมาขอรับความคุ้มครองได้ จะพิจารณาเลือกจาก 3 ประเด็น คือ พืชที่มีความสำคัญและโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ พืชที่มีนักปรับปรุงพันธุ์พืชของไทยทำการปรับปรุงพันธุ์ และพืชที่มีพันธุ์พืชพื้นเมืองให้เกษตรกรเลือกใช้  ซึ่งขณะนี้พืชทั้ง 7 ชนิดดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชและประกาศลงราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้แล้วส่งผลให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือนักปรับปรุงพันธุ์พืชอิสระ สามารถนำพันธุ์ใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์ได้ทั้ง 7 ชนิดมายื่นขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายได้ ทำให้ปัจจุบันมีชนิดพืชที่สามารถนำมาขอจดทะเบียนรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งมีจำนวน 93 ชนิดรวมเป็น 100 ชนิดแล้วกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การนำพันธุ์พืชใหม่ตามชนิดที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มายื่นจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองจะทำให้เจ้าของพันธุ์พืชใหม่มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตขายหรือจำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักร แต่มีข้อยกเว้นสามารถใช้ได้ในกรณีเพื่อการศึกษา ค้นคว้าทดลอง วิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ เพาะปลูกหรือขยายพันธุ์โดยเกษตรกร ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นส่วนขยายพันธุ์หรือเพื่อการค้า และถูกนำออกจำหน่ายด้วยความยินยอมของเจ้าของพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่ต้องการส่งเสริม กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง

ในช่วงที่ผ่านมามีพืชตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ที่นักปรับปรุงพันธุ์ สถาบันการศึกษา เอกชน มูลนิธิ  องค์กร และหน่วยงานภาครัฐได้ยื่นจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองรวมจำนวนทั้งสิ้น 44 ชนิดพืช รวม 1,732 คำขอ โดยชนิดพืชที่ขอยื่นจดทะเบียนรับความคุ้มครองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ยูคาลิปตัส ข้าวโพด แตงกวา/แตงร้าน พริก ข้าว กล้วยไม้สกุลหวาย มะเขือเทศ ไม้ดอกสกุลขมิ้น แตงโม และบัว นักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ต้องการจดทะเบียนพันธุ์พืชเพื่อขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช โทรศัพท์ 0 2940 7214กรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองกรมวิชาการเกษตร เปิดรายชื่อ 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated