ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64 มุ่งดูแลเกษตรกรก้าวผ่านวิกฤตโควิด และภัยธรรมชาติ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรผ่านนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน
ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64 มุ่งดูแลเกษตรกรก้าวผ่านวิกฤตโควิด และภัยธรรมชาติ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรผ่านนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน

ธ.ก.ส. ก้าวสู่ปีที่ 56 มุ่งดูแลพี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคเกษตร ก้าวข้ามวิกฤต COVID-19 และภัยธรรมชาติต่าง ๆ ผ่านมาตรการเยียวยา บรรเทา และฟื้นฟู ทั้งในส่วนของโครงการนโยบายรัฐและของ ธ.ก.ส. ส่งผลให้การดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีบัญชี  64 เติบโตในอัตราที่ลดลงตามสภาวการณ์ โดยมีรายได้รวม 41,084 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 39,623 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,461 ล้านบาท ตั้งเป้าครึ่งปีหลัง คัดชุมชนที่มีศักยภาพ มาเป็นกลไกในการสร้างอาชีพรองรับแรงงานคืนถิ่นและคนรุ่นใหม่ 100,000 คน โดยประสานเครือข่ายภาครัฐเอกชนเติมเต็มองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างการเติบโตแบบยั่งยืน พร้อมจัดสินเชื่อต่อยอดธุรกิจและการให้บริการผ่านระบบ Digital Banking

ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64 มุ่งดูแลเกษตรกรก้าวผ่านวิกฤตโควิด และภัยธรรมชาติ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรผ่านนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน
นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในโอกาสครบรอบวันสถาปนา ธ.ก.ส. ก้าวสู่ปีที่ 56 ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาภาคเกษตรกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยสู่สังคมที่ภาคภูมิ  ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกประสบภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยในภาคเกษตรกรรมประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ อันเนื่องมาจากการล็อกดาวน์ การปิดประเทศ ไม่สามารถส่งออกสินค้า ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ภาคบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรมปิดกิจการ จึงขาดผู้รับซื้อผลผลิต ขณะเดียวกันเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบให้เกิดการเลิกจ้างงาน โดยมีตัวเลขแรงงานคืนถิ่นและบัณฑิตจบใหม่ที่ยังว่างงานจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อดูแลพี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการในภาคการเกษตร และเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ธ.ก.ส.ได้ดำเนินงานผ่าน 3 มาตรการ ประกอบด้วย

ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64 มุ่งดูแลเกษตรกรก้าวผ่านวิกฤตโควิด และภัยธรรมชาติ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรผ่านนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนมาตรการเยียวยา โดยขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมผ่านโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ มันสำปะหลัง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 6,924,413 ราย เป็นเงินกว่า 60,000 ล้านบาท

มาตรการบรรเทา โดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรตามนโยบายรัฐ ผ่านโครงการประกันภัยพืชผล ได้แก่ การประกันภัยข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 3.68 ล้านราย พื้นที่รวมกว่า 44.8 ล้านไร่ ซึ่งในช่วงที่เกิดอุทกภัย มีเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนกว่า 4.6 แสนราย พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 5.3 ล้านไร่ ขณะนี้ได้เร่งประสานงานในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และการดำเนินงานในส่วนของ ธ.ก.ส.เพื่อบรรเทาภาระทางการเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านโครงการพักชำระหนี้ โดยมีเกษตรลูกค้าได้รับประโยชน์ 1,796,422 ราย ต้นเงิน 551,060 ล้านบาท และการสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ การประกันภัยโคนม โคเนื้อ และชาวประมง มีผู้เข้าร่วมโครงการ 2,783 ราย เบี้ยประกัน 3.82 ล้านบาท

มาตรการฟื้นฟู สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนตามนโยบายรัฐ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมงและสินเชื่อเพื่อพัฒนาเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 2,266 ราย เป็นเงิน 8,986 ล้านบาท และในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินโครงการ สินเชื่อฉุกเฉินดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องด้านการเงินให้กับผู้ประกอบการ สินเชื่อ Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (พักทรัพย์ พักหนี้) สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 และการฟื้นฟูอาชีพ ผ่านสินเชื่อสานฝัน สร้างอาชีพ สินเชื่อนวัตกรรมดีมีทุน และการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากผ่านโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชน สร้างไทย โดยมีวงเงินที่พร้อมสนับสนุนรวม 200,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 29,861 ราย เป็นเงิน 14,269 ล้านบาท และในช่วงที่เกิดอุทกภัย ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉิน เพื่อนำไปใช้จ่ายที่จำเป็นภายในครัวเรือน รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท

นายธนารัตน์ กล่าวต่อไปว่า จากสภาวการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีบัญชี 2564 (1 เมษายน – 30 กันยายน 2564)  ธ.ก.ส. มียอดจ่ายสินเชื่อทั้งระบบ 1,569,161 ล้านบาท โดยจ่ายสินเชื่อแล้ว 299,948 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากต้นปีบัญชี 8,994 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.77 เมื่อเทียบกับเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในปี 2564 จำนวน 57,000 ล้านบาท มียอดเงินฝากสะสม 1,784,023 เพิ่มขึ้น 2,441 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 18 ตุลาคม 2564 ธ.ก.ส. เปิดรับฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดเกษตรมั่งคั่ง 6 จำนวน 50,000 ล้านบาท ทำให้ยอดเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 1,837,709 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56,127 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.15 จากต้นปีบัญชี มีสินทรัพย์รวม จำนวน 2,122,745 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีบัญชี จำนวน 7,673 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.36 หนี้สินรวมจำนวน 1,979,789 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีบัญชี จำนวน 11,261 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.57 จากการออกพันธบัตร ธ.ก.ส. เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน และการเพิ่มขึ้นของเงินรับฝาก ส่งผลให้อัตราเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ ร้อยละ 88.39  ส่วนของเจ้าของจำนวน 142,956 ล้านบาท ลดลงจากต้นปีบัญชีร้อยละ 2.45 จากการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีบัญชี 2563 เพื่อจ่ายเงินปันผลจำนวน 5,042 ล้านบาท โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ Basel II เป็นร้อยละ 12.32 มีรายได้รวม 41,084 ล้านบาท ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 39,623 ล้านบาท คงเหลือกำไรสุทธิจำนวน 1,461 ล้านบาท อัตราส่วน NPLs ต่อ Loan อยู่ที่ร้อยละ 4.24ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64

และจากการประเมินภาวะเศรษฐกิจเกษตรในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 – 2.8 จากปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลดีต่อราคาสินค้าเกษตรและรายได้ในภาคเกษตร ทั้งปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ย แนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่าเทียบกับครึ่งปีแรก และเศรษฐกิจคู่ค้าที่ขยายตัว ส่งผลต่อความต้องการสินค้าเกษตรและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทั้งในการบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรในครึ่งปีหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.06 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อประกอบกับสถานการณ์โควิด -19 ที่ผ่อนคลาย การมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศสามารถฟื้นฟูและกลับมาเติบโตอีกครั้ง โดยคาดว่า GDP ของประเทศจะขยายตัวที่ ร้อยละ 2.1

ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64 มุ่งดูแลเกษตรกรก้าวผ่านวิกฤตโควิด และภัยธรรมชาติ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรผ่านนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนสำหรับการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนหลัง (1ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565) ธ.ก.ส. มุ่งเน้นดำเนินการภายใต้แนวคิด “ฟื้นฟูลูกค้า พัฒนาคุณภาพงาน สานต่อธุรกิจชุมชน มุ่งเน้นนวัตกรรม นำองค์กรสู่ความยั่งยืน” ดังนี้ 1) ด้านการฟื้นฟูลูกค้า มุ่งเน้นการตรวจสุขภาพหนี้ไปสู่การบริหารจัดการหนี้ โดยจัดแบ่งลูกค้าตามศักยภาพ และออกมาตรการสนับสนุนลูกค้าชั้นดี เช่น ผัดผ่อนเกณฑ์พิเศษ เป็นต้น พัฒนา/ปรับปรุงเครื่องมือบริหารจัดการหนี้โดยใช้เทคโนโลยี ควบคู่การพัฒนา/ฟื้นฟูอาชีพลูกค้าเพื่อให้มีรายได้

2) ด้านการพัฒนาคุณภาพงาน มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของข้อมูล คุณภาพการบริการ และ คุณภาพสินเชื่อ โดย ธ.ก.ส. ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะ Duo Transformation คือ การดำรงรูปแบบการดำเนินงานแบบธนาคารดั้งเดิม (Traditional Banking) เพื่อให้บริการลูกค้าที่ยังคุ้นเคยกับรูปแบบการบริการแบบเดิม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและในพื้นที่ชนบท ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นธนาคารดิจิทัล (Digital Banking) เพื่อรองรับสังคมยุคดิจิทัลและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ มีการขยายเครือข่ายบริการทางการเงินในรูปแบบ Omni Channel ไม่ว่าจะเป็น Banking Agent โดยให้บริการผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ไปรษณีย์ไทย ตู้บุญเติม ตู้เติมสบาย และเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี โครงการให้บริการตู้ ATM ข้ามธนาคาร (White Label) กับธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงไทย โครงการจัดทำสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Lending) โครงการต่อยอดบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการให้กับสมาชิกร้าน น้องหอมจังของ ธ.ก.ส. ด้วยระบบ QR Credit Card Payment บนเครือข่ายของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดผ่านบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และในช่วงปลายปี 2564 จะมีการยกระดับแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ให้สามารถรองรับการให้บริการที่หลากหลายและมีฟังก์ชันการใช้งานที่สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น

3) ด้านการสานต่อธุรกิจชุมชน มุ่งเน้นการยกระดับลูกค้า และค้นหาลูกค้าใหม่ ยกระดับ ขีดความสามารถการแข่งขันด้านการพัฒนาชุมชน โดย ธ.ก.ส. ได้จัดการประกวดชุมชนอุดมสุขยอดเยี่ยมระดับประเทศ จากชุมชนอุดมสุข ธ.ก.ส. ทั่วประเทศจำนวน 5,216 ชุมชน เพื่อค้นหาชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็ง มาผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนให้ชุมชนนำเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่มาเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง โดยพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบบูรณาการภายใต้แนวคิด (Bio – Circular – Green Economy : BCG) พร้อมเร่งดำเนินการ ค้นหา/พัฒนาลูกค้าใหม่ ในกลุ่ม Smart Farmer New gen และกลุ่มสถาบันการเงินชุมชน สนับสนุนให้เกิดธุรกิจชุมชนเพื่อรองรับแรงงานย้ายถิ่น ผ่าน โครงการ 1 สาขา สร้างอาชีพ สู้วิกฤติโควิด โดยวางเป้าหมายสนับสนุนแรงงานที่ถูกเลิกจ้างและบัณฑิตที่จบใหม่ ที่มีความสนใจและพร้อมที่จะนำความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาภาคการเกษตรจำนวน 100,000 ราย โดยร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเติมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการธุรกิจและการตลาด เพื่อยกระดับเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการเพิ่มมูลค่าการผลิต การแข่งขันทางการตลาด และเป็นหัวขบวนของธุรกิจในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64

4) มุ่งเน้นนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนเกษตรกรนำเครื่องมือที่ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนำเครื่องมือ Hackathon เข้ามาช่วยในการพัฒนานวัตกรรม และขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร อีกทั้ง ธ.ก.ส. ได้มีการร่วมลงทุนบริษัท คิว บ็อกซ์ พอยท์ จํากัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Farmbook ที่ช่วยเกษตรกรวางแผนการผลิตพืชผักอาหารปลอดภัยในลักษณะซื้อขายล่วงหน้า และ บริษัท อินฟิวส์ จํากัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน “มะลิซ้อน” ที่ช่วยอํานวยความสะดวกในการบันทึกแปลงที่ดินของเกษตรกรและแจ้งการขอชดเชยค่าสินไหม เพื่อเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตรเข้ามาร่วมพัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่มทางการผลิตและการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมอื่น ๆ และมีอุดมการณ์ในการพัฒนาภาคเกษตร แต่ขาดโอกาสในการเพิ่มทุนให้เข้ามาร่วมงานกับ ธ.ก.ส. มากขึ้น นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ร่วมกับ สวทช. / NECTEC NIA depa และกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตลาดนัดเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Investor Day) เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรได้มีโอกาสพบเจ้าของผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะนำมาต่อยอดธุรกิจ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ณ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64

5) ด้านการนำองค์กรสู่ความยั่งยืน มุ่งเน้นการบริหารจัดการภายใต้แนวคิด (Environmental Social and Governance : ESG) สู่ธนาคารยั่งยืน โดยนำแนวคิด  “Thriving in the Next Normal :สร้างความพร้อมประเทศไทยสู่โอกาสทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด – 19 ได้แก่ การสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางสังคมให้ดีขึ้น  การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการธนาคารต้นไม้ ชุมชนไม้มีค่า การต่อยอดอุตสาหกรรมทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร มาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย จากความมุ่งมั่นในการดำเนินงานทำให้ ธ.ก.ส. ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ 2564 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) โดยมีผลประเมินอยู่ที่ 96.77 คะแนน ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานคุณธรรมและความโปร่งใสในระดับ AA (มากกว่า 95 คะแนน) ต่อเนื่อง 7 ปี อีกทั้ง ธ.ก.ส. ยังผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก หรือ (GECC) ประจำปี 2564 ในระดับก้าวหน้า จำนวน 22 สาขา และระดับพื้นฐาน จำนวน 142 สาขา อันเป็นการสะท้อนคุณภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ในการเป็นหน่วยงานรัฐที่มีความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย  รวมถึง ธ.ก.ส. ได้รับคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ธ.ก.ส. ที่ระดับสูงสุด ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิต Stable และระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งสะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มั่นคง และมีเสถียรภาพ เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายรัฐและพัฒนาภาคเกษตรได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ภายใต้แผนงานและมาตรการในการสนับสนุนการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ ณ สิ้นปีบัญชี 2564 (31 มีนาคม 2565) ธ.ก.ส. NPLs และผลประกอบการใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา นายธนารัตน์ กล่าว.ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 64

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated