จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2564 (UI Green Metric World University Ranking 2021) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก ติดทอป 50 มหาวิทยาลัยสีเขียวโลกในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2017 อันดับที่ 96 ของโลก อันดับที่ 3 ของไทย ปี 2018 อันดับที่ 89 ของโลก อันดับที่2 ของไทย ปี 2019 อันดับที่ 81ของโลก อันดับที่ 2 ของไทย ปี 2020 อันดับที่ 73 ของโลก อันดับที่ 2 ของไทย และล่าสุด ปี 2021 อยู่ในอันดับที่ 45 ของโลก ซึ่งอันดับดีขึ้นกว่าเดิม 28 อันดับ พร้อมกับคว้าแชมป์ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของประเทศไทย จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่เข้าร่วมการจัดอันดับรวมจำนวนทั้งสิ้น 956 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นมหาวิทยาลัยของไทย 39 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับคะแนน 8,225 คะแนน ( ปี 2020 ได้ 7,775 คะแนน ) จากเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน คือ 1.สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค (Setting & Infrastructure) ได้ 1,175 คะแนน 2.การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Energy & Climate Change) ได้ 1,625 คะแนน 3.การจัดการขยะหรือของเสีย (Waste) ได้ 1,425 คะแนน 4.การใช้น้ำ (Water) ได้ 850 คะแนน 5.การจัดการระบบขนส่ง (Transportation) ได้ 1,525 คะแนน และ 6.การศึกษา/การวิจัย (Education & Research) ได้ 1,625 คะแนน
ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ในฐานะประธานคณะทำงานการเก็บข้อมูลการจัดอันดับ UI GreenMetric มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งในปีนั้นมีมหาวิทยาลัยไทยเข้าร่วมทั้งสิ้น 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับที่ 1 ของไทย ต่อจากนั้น เริ่มมีมหาวิทยาลัยของไทยรวมถึงมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับมีการพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนนอย่างต่อเนื่องทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำจุดอ่อนและจุดแข็งที่ได้รับมาพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุขและยั่งยืน พร้อมกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เราภาคภูมิใจ
โดยล่าสุดจากดำริของ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีนโยบายออกกฎเหล็กเรื่องการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว ห้ามมีการตัดต้นไม้อย่างเด็ดขาด หากจำเป็นจะต้องตัดก็ต้องปลูกใหม่ทดแทน ในด้านการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ก็ได้มีการรณรงค์เรื่องการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจังกับทุกส่วนงานและทุกวิทยาเขต เพื่อให้ชีวิตในการทำงาน การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ของเรามีความสุขรอบตัวและเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้แก่เกษตรกรและประชาชน เช่น การเปลี่ยนรถสาธารณะ เป็นรถพลังงานไฟฟ้า การจัดทำแผงโซลาร์เซลล์บนผืนน้ำ (Floating Solar) ที่คณะประมงเป็นแห่งแรกของกรุงเทพฯ การปรับเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์คณะประมง และ อาคารต่าง ๆ ให้เป็นอาคารปลอดก๊าซเรือนกระจก การจัดการพลังงานโซลาร์ฟาร์ม กับฟาร์มสมัยใหม่ ที่วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นต้น
จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2564 (UI Green Metric World University Ranking 2021) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก ติดทอป 50 มหาวิทยาลัยสีเขียวโลกในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2017 อันดับที่ 96 ของโลก อันดับที่ 3 ของไทย ปี 2018 อันดับที่ 89 ของโลก อันดับที่2 ของไทย ปี 2019 อันดับที่ 81ของโลก อันดับที่ 2 ของไทย ปี 2020 อันดับที่ 73 ของโลก อันดับที่ 2 ของไทย และล่าสุด ปี 2021 อยู่ในอันดับที่ 45 ของโลก ซึ่งอันดับดีขึ้นกว่าเดิม 28 อันดับ พร้อมกับคว้าแชมป์ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของประเทศไทย จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่เข้าร่วมการจัดอันดับรวมจำนวนทั้งสิ้น 956 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นมหาวิทยาลัยของไทย 39 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับคะแนน 8,225 คะแนน ( ปี 2020 ได้ 7,775 คะแนน ) จากเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน คือ 1.สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค (Setting & Infrastructure) ได้ 1,175 คะแนน 2.การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Energy & Climate Change) ได้ 1,625 คะแนน 3.การจัดการขยะหรือของเสีย (Waste) ได้ 1,425 คะแนน 4.การใช้น้ำ (Water) ได้ 850 คะแนน 5.การจัดการระบบขนส่ง (Transportation) ได้ 1,525 คะแนน และ 6.การศึกษา/การวิจัย (Education & Research) ได้ 1,625 คะแนน
ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ในฐานะประธานคณะทำงานการเก็บข้อมูลการจัดอันดับ UI GreenMetric มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งในปีนั้นมีมหาวิทยาลัยไทยเข้าร่วมทั้งสิ้น 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับที่ 1 ของไทย ต่อจากนั้น เริ่มมีมหาวิทยาลัยของไทยรวมถึงมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับมีการพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนนอย่างต่อเนื่องทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำจุดอ่อนและจุดแข็งที่ได้รับมาพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุขและยั่งยืน พร้อมกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เราภาคภูมิใจ
โดยล่าสุดจากดำริของดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีนโยบายออกกฎเหล็กเรื่องการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว ห้ามมีการตัดต้นไม้อย่างเด็ดขาด หากจำเป็นจะต้องตัดก็ต้องปลูกใหม่ทดแทน ในด้านการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ก็ได้มีการรณรงค์เรื่องการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจังกับทุกส่วนงานและทุกวิทยาเขต เพื่อให้ชีวิตในการทำงาน การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ของเรามีความสุขรอบตัวและเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้แก่เกษตรกรและประชาชน เช่น การเปลี่ยนรถสาธารณะ เป็นรถพลังงานไฟฟ้า การจัดทำแผงโซลาร์เซลล์บนผืนน้ำ (Floating Solar) ที่คณะประมงเป็นแห่งแรกของกรุงเทพฯ การปรับเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์คณะประมง และ อาคารต่าง ๆ ให้เป็นอาคารปลอดก๊าซเรือนกระจก การจัดการพลังงานโซลาร์ฟาร์ม กับฟาร์มสมัยใหม่ ที่วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นต้น
ในด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ ทุกวิทยาเขตได้ดำเนินการให้มีพื้นที่สีเขียว สวน และเส้นทางสำหรับการออกกำลังกาย รวมทั้งได้จัดการระบบน้ำเสียใหม่ โดยน้ำเสียจากทุกอาคารจะถูกส่งผ่านท่อใต้ดิน ไปยังโรงบำบัดน้ำภายในมหาวิทยาลัยบริเวณคณะสิ่งแวดล้อม และกำลังพัฒนาระบบ นำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่สำหรับการบำรุงรักษาและให้น้ำแก่ต้นไม้ สนามหญ้า สนามกีฬาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของมหาวิทยาลัย คือ ‘วีกรีน’ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับใบรับรองระบบงานจาก สำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (NAC, National Accreditation Council) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก มอก.14065-2560 (ISO 14065 : 2013) หน่วยงานแรกของประเทศไทย และมีผู้ตรวจสอบ/ทวนสอบ T-VER ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว จากคณะวนศาสตร์ ช่วยสนับสนุนภารกิจงานด้านก๊าซเรือนกระจกในระดับชาติและสากล ในการเป็นผู้นำด้านตรวจสอบรับรองด้านก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยอย่างยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความสุขอย่างยั่งยืนของบุคลากร นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประชาชน ขอขอบคุณทุกส่วนงานและทุกวิทยาเขต รวมถึงคณะกรรมการทุกคณะที่ช่วยกันทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว มหาวิทยาลัยแห่งความสุขและยั่งยืนอย่างแท้จริง