นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ Organic Symposium 2017 กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มียุทธศาสตร์ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 โดยมีวิสัยทัศน์ให้ “ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคด้านการผลิต การบริโภค การค้าสินค้า และการบริการเกษตรอินทรีย์ที่มี ความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล”

นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ Organic Symposium 2017
นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ Organic Symposium 2017

โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้เป็น 600,000 ไร่ ในปีพ.ศ. 2564 และมีเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 30,000 ราย รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนตลาดในประเทศ ต่อตลาดส่งออกเป็น 40:60 และที่สำคัญคือ การมุ่งที่จะ ยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็น แผนยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายให้เกิดการขยายเกษตร อินทรีย์กว่าเท่าตัวในอีก 5 ปีข้างหน้า

ผู้ร่วมงานให้ความสนใจ ต่อหัวข้อเสวนา "ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยและแนวทางการขับเคลื่อน"
ผู้ร่วมงานให้ความสนใจ ต่อหัวข้อเสวนา “ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยและแนวทางการขับเคลื่อน”

ทั้งนี้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติฉบับปัจจุบันจึงได้วางยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย
(1) ส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์
(2) พัฒนาการผลิตสินค้าและ บริการเกษตรอินทรีย์
(3) พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ
(4) การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์

ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ข้อนี้ยังสอดรับกับนโยบายการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หรือ “Thailand 4.0” ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาค อุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาค การผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

นางพิมพาพรรณ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ข้อนี้ ล้วนแต่ตอบสนองแนวโน้มการบริโภคสินค้าอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น ในตลาดโลก ศักยภาพการขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ของไทยในตลาดโลก สอดรับกับหลักการสำคัญและแนวคิด ของ “Thailand 4.0” และแสดงถึงความมุ่งมั่นและความพร้อมของกระทรวงพาณิชย์ในการผลักดันและส่งเสริม การค้าและการตลาดสินค้าอินทรีย์ของไทย ทั้งในการเชื่อมโยงสินค้าจากแหล่งผลิตสู่ผู้บริโภคในตลาดภายใน ประเทศ ตลาดภูมิภาค และตลาดโลก ทั้งยังเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ตระหนักถึงความต้องการหรืออุปสงค์ของตลาดโลก เพื่อจะได้ผลิตสินค้าอินทรีย์ให้ตรงกับ ความต้องการของตลาด รวมทั้งเปิดรับการประยุกต์ใช้วิทยาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ กับสินค้าและบริการ อินทรีย์ของไทยต่อไป

 

บรรยากาศการเสวนา "ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยและแนวทางการขับเคลื่อน"
บรรยากาศการเสวนา “ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยและแนวทางการขับเคลื่อน”

เกษตรอินทรีย์ของไทยมีศักยภาพสูง เพราะมีความหลากหลาย มีจำนวนเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์และ ผู้ประกอบการหันมาทำสินค้าอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์จึงได้มีแผนที่จะผลักดันการค้าสินค้า อินทรีย์ให้ขยายตัวออกไป โดยหวังให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน มีการสร้างเครือข่าย เกษตรอินทรีย์จากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือกลุ่ม CLMV โดยจะมีการเชิญเกษตรกรจาก ประเทศเพื่อนบ้านมาร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำเกษตรอินทรีย์ระหว่างกัน และมีการลงมือ ปฏิบัติในแปลงสาธิต การอบรมด้านการตลาด และระบบโลจิสติกส์

“นอกจากนี้การประชุมหารือระหว่างเอกชนไทย และเอกชนอาเซียนจากสมาคมเกษตรอินทรีย์ของประเทศต่างๆ ที่มุ่งหวังให้เกิดการจัดตั้งสหพันธ์เกษตรอินทรีย์ อาเซียน (ASEAN Organic Federation) ในงาน Organic & Natural Expo ครั้งนี้ จะก่อให้เกิดความร่วมมือใน ภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม เกิดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอินทรีย์ ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้ภาคส่วนอินทรีย์ของอาเซียนเติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป” นางพิมพาพรรณ กล่าวสรุป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated