จากการประชุม Agriculture and Food Deans Meeting” เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์วิทยาการขั้นสูงเพื่อเกษตรและอาหาร (Center for Advanced Studies for Agriculture and Food (CASAF) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากการประสานความร่วมมือของ 6 คณะ ได้แก่ คณะเกษตร  คณะเกษตร กำแพงแสน คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะประมง คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ โดยทางคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมในวันที่ 22 -23 สิงหาคม 2560 โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นคณบดีด้านการเกษตร อาหาร และสาขาที่เกี่ยวข้องจาก 10 ประเทศ โดยมีปาฐกและการประชุมกลุ่มย่อย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี  โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและความร่วมมือให้ตอบโจทย์ทั้งประเทศชาติและภาคเอกชน รวมทั้งเป็นการก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ของมหาวิทยาลัยให้ก่อเกิดความร่วมมือที่จะช่วยยกระดับความสามารถในด้านเกษตรและอาหารของประเทศในระดับสากล

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์ปาฐก ได้ย้ำถึงความจำเป็นที่คณะเกษตรและอาหารจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ควรตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัย ภาครัฐและภาคเอกชน และควรเรียนรู้กลวิธีในการส่งเสริมความสัมพันธ์ดังกล่าวจากสถาบันที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งหาสมดุลของพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากการสอนและการวิจัยแล้ว ยังต้องมีองค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจได้ สำหรับประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมมาหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นบูรณาการเรียนรู้และการทำงาน ตลอดจนการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกงานในสถานที่ประกอบการจริงหรือที่เรียกว่าสหกิจศึกษา นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นสถาบันในการวิจัยหรือการศึกษานำร่อง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังเน้นรูปแบบ แนวความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยที่จะป้อนงานวิจัยใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมและสังคมดังจะเห็นได้จากการที่อาจารย์และนักวิจัยมีภาระหน้าที่เสริมในการทำวิจัยให้ภาครัฐและเอกชน รวมถึงการเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ (start-ups) ในมหาวิทยาลัยที่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด

ผศ. ดร. สุตเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ. ดร. สุตเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ. ดร. สุตเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงเพื่อเกษตรและอาหารได้กล่าวถึง โครงสร้างของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ซึ่งนอกจากจะมีคณะวิชาต่างๆ แล้วยังมีสถาบันวิทยาการขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Institute for Advanced Studies, KUIAS) ซึ่งศูนย์วิทยาการ ขั้นสูงเพื่อเกษตรและอาหาร (Center for Advanced Studies for Agriculture and Food, CASAF)  เป็นหนึ่งในศูนย์หลักที่มีหน้าที่พัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับงานวิจัยขั้นสูงด้วยเป้าหมายการสร้างนักวิจัยทั้งระดับปริญญาเอกและโทมาอย่างต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนิสิต และการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในวิชาการของกลุ่มเกษตรและอาหารให้กับประเทศไทย อาทิ การประชุมคณบดีด้านเกษตรและอาหาร ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2556) มุ่งเน้นการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของ โลก  เพื่อเตรียมการตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นอกจากนี้ยังมีการการจัดการประชุมวิชาการและการสร้างและลงนามบันทึกความเข้าใจ การผลิตงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยใน เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการวิจัย (Research University Network) โดยมหาวิทยาลัยเกษตรรับผิดชอบในส่วนระบบข้อมูลเกษตร (big data for agriculture) เพื่อการทำการเกษตรแบบดิจิทัล  (digital farming) ให้สอดรับกับการก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.ซึ่งมีความจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถทางการวิจัยด้านเกษตรและอาหารของประเทศตลอดจนภูมิภาคและทวีปเอเชีย  การประชุมครั้งที่สองนี้จะช่วยสร้างและกระชับความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ได้

Dr. Sun-Ok Chung จาก Department of Biosystems Machinery Engineering, Chungnam National University ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
Dr. Sun-Ok Chung จาก Department of Biosystems Machinery Engineering, Chungnam National University ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

Dr. Sun-Ok Chung จาก Department of Biosystems Machinery Engineering, Chungnam National University ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ได้กล่าวถึงพัฒนาการหรือแนวโน้มของงานวิจัยด้านเกษตรกรรมความแม่นยำสูง ( precision agriculture) และ ฟาร์มอัจฉริยะ (smart farming) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลเริ่มส่งเสริมการวิจัย พัฒนาปลายทศวรรษที่ 1990s โดยเป็นการทดลองในฟาร์มหรือทุ่งนาขนาดเล็กรวมทั้งในห้องแลบด้วยอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ (sensors) และมีการพัฒนาไปสู่การใช้เครื่องจักรเกษตรอัตโนมัติ (autonomous field machinery) ไปจนถึงการ ใช้ และแอปพลิเคชัน ในการ GPS ควบคุมเครื่องจักรกลในการทำการเกษตร ปัจจุบันมีการสร้าง Smart Farm Acceleration Policy เพื่อขยายพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและการแข่งขันด้านฟาร์มอัจฉริยะได้

Dr. Yungchen Wu รองผู้อำนวยการ Industrial Upgrading Service Department, Metal Industries Research and Development Center ไต้หวันได้แนะนำ Metal Industries Research and Development Center ว่าก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ1963 โดยรัฐบาลไต้หวันและสหประชาชาติ เป็นสถาบันวิจัยใหญ่อันดับที่ 3 ของไต้ไหวันที่ผลิตผลงานวิจัยและจดลิขสิทธิ์จำนวนมาก มีรายได้จำนวน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี ค.ศ. 2016 โดยร้อยละ  60 มาจากภาครัฐ และร้อยละ  40 มาจากภาคเอกชนที่เข้ารับการฝึกและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีพันธกิจหลักคือเพิ่มมาตรฐานการแข่งขันของอุตสาหกรรมโลหะของไต้หวันโดยอาศัยกลยุทธ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งหมายรวมถึงการร่วมมือกับภาคเอกชนรวมทั้งสถาบันการศึกษาและนักวิจัยในระดับนานาชาติ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated